วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การเพาะกล้าหาพันธุ์ไม้


 การเพาะกล้าไม้เป็นพื้นฐานของการปลูกต้นไม้เราคงอยู่กันไม่ได้หากไม่มีต้นไม้ ฉะนั้นแล้วการปลูกต้นไม้ก็ไม่ต่างอะไรกับการปลูกชีวิตปลูกความสมบูรณ์ของโลกการปลูกต้นไม้ถือว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และมีค่ามาก ฉะนั้นอย่าเป็นคนที่ดูถูกการปลูกป่าปลูกต้นไม่                                  
ถ้าหากเราสามารถเพาะกล้าไม้พันธุ์ไม้เองได้ก็จะเป็นการช่วยเหลือโลกและลดต้นทุนในการนำเข้ากล้าไม้จากที่อื่น เพาะกล้าต้นไม้เองก็ไม่ต่างอะไรจากการนำเงินไปฝากธนาคาร                                                             
เพราะเราสามรถเปลี่ยนกล้าไม้ให้เป็นเงินและมีค่ากว่าเงินด้วยซ้ำไปยิ่งต้นไม้ที่เราเพาะมีอายุมากขึ้นเท่าไหร่มูลค่าของมันก็จะเพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นแล้วอย่ามองข้ามการปลูกกล้าไม้เพราะมันกำไรให้เราอย่างมหาศาลคนที่เคยลงมือทำเท่านั้นถึงจะรู้ว่ามันมีค่าแค่ไหน
การหากล้าไม้และเมล็ดพันธุ์มาปลูก
1. เราสามารถหาได้จากพื้นของเราว่ามีต้นไม้พันธุ์พื้นบ้านอะไรบ้างที่สามารถนำมาเพาะกล้าขยายพันธุ์ได้เริ่มต้นง่ายๆก่อน
2. เราลองตระเวนหาเมล็ดพันธุ์ตามป่าหรือแถวข้างทางที่มีต้นไม้เราอาจจะได้พันธุ์ไม้มาเพาะกันแบบฟรีๆ
3.ลองหาชมรมหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้หรือการแจกกล้าไม้ฟรี
4 . หาแหล่งร้านค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือลองหาเว๊ปที่มีการแจกต้นไม้ฟรี
5. ถ้าหากเราพอมีเงินทุนก็เข้าไปหาซื้อตามแหล่งเพาะกล้าต้นไม้โดยตรงเลยก็ได้และพยามขอคำแนะนำจากคนเพาะกล้าไม้โดยตรง เพราะจะทำให้เได้ความรู้และข้อมูลการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น
6. ติดต่อไปทางกรมป่าไม้โดยตรงเพื่อขอกล้าไม้มาปลูกรับรองได้กล้าไม้มาปลูกแบบฟรีๆ ทรศัพท์:02-561-4292
หลักการเพาะต้นไม้


การเตรียมเมล็ด

1. พวกเมล็ดใหญ่แข็งมาก เช่น มะค่า กระทิง สะบ้า พวกนี้ให้ทำแผล แล้วแช่น้ำ อย่างน้อย 1 คืน แล้ววางเมล็ดให้ขั้วอยู่กลางถุงชำ ให้เมล็ดจมลงในวัสดุ 2/3 ของเมล็ดโดยเอาด้านแผลลง 

2. พวกเมล็ดใหญ่แต่เปลือกไม่แข็ง เช่น สารภี เหมือนหอม จันโอ ยางนา พวกนี้มักจะมีเนื้อผลนิ่ม ให้ล้างออกให้หมดผึ่งลม จากนั้นก็นำไปเพาะในถึงชำ โดยให้ขั้วอยู่ตรงกลาง และให้เมล็ดจมลง 2/3 หรือให้มิดเป็นหลังเต่าไปเลย เพราะส่วนมากแล้วพวกนี้จะแทงรากและยอดออกมาเลยโดยไม่ยก เมล็ดขึ้น การฝักมิดนิดหน่อยหรือ 2/3 จึงไม่มีผลอะไร 

3. พวกเมล็ดเล็กแข็ง ได้แก่ พวกคูณ กาหลง พวกนี้ให้ลวกน้ำร้อน 80 องศา แล้วแช่ต่ออย่างน้อย 1 คืน จากนั้นนำไปโรยในกระบะแล้วโรยวัสดุเพาะทับบางๆ หนาระหว่าง 0.3-0.5 ชม. 

4. พวกเมล็กเล็กมาก และแข็ง เช่น กันเกรา ให้ลวกน้ำร้อนแล้วแช่ต่ออย่างน้อย 1 คืน จากนั้นนำไปโรยในวัสดุเพาะแล้วโรยวัสดุทับบางๆ พอให้เมล็ดติดกับดิน ไม่กระดอนเวลารดน้ำ 

5.พวกเมล็ดเล็กและมีปีก พวกนี้ส่วนมากจะเป็นวงศ์แคป่า ได้แก่แคนา ตะเบ เพกา ปีบ พวกนี้โรยในวัสดุเลยแล้วก็โรยทับบางๆพอให้ติดดินได้ไม่กระดอนเวลารดน้ำ
6. พวกเล็กบางและไม่มีปีก เช่น น้ำเต้าต้น โมกมัน โมกหลวง พวกนี้ทำเช่นกันกับข้อ 5 ครับ 

7. พวกที่เป็นคอร์กและผลขนาดใหญ่ ได้แก่ มะกอกป่า พระเจ้า 5 พระองค์ มะพอก พวกนี้ให้เอามีดเฉือนให้ใกล้กับเมล็ดมากที่สุด จากนั้นให้แช่น้ำ อย่างน้อย 1 คืน จึงนำไปเพาะในถุง โดยให้มิดวัสดุเลยที่ระดับมาตฐานคือ 0.3-0.5 ชม 

8. พวกที่เมล็ดแข็งแต่มีรอยแบ่ง เช่น หมัน มะเกิ้ม หูกระจง กระบก สมอไทย พวกนี้จะแช่น้ำร้อนก็ไม่ได้ จะเฉือนก็ไม่ได้ ให้แช่น้ำเย็น อย่างน้อย 1 คืน แล้วจึงนำไปเพาะ โดยให้มิดวัสดุเลยที่ระดับมาตฐานคือ 0.3-0.5 ชม พวกนี้มักใช้เวลานานในการเพาะ บางชนิดอาจจะข้ามปีไปเลย 

9. ชนิดที่มีเปลือกหุ้มตาแข็งและหนามาก เช่น หวาย และปาล์มบางชนิด ให้หาขั้วให้เจอ จากนั้นให้เอามีดคมๆเฉือนออกเล็กน้อย แช่น้ำอย่างน้อย 1 คืน 
การขยายพันธุ์ไม้ผลบางชนิดก็จำเป็นต้องใช้ วิธีการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เช่น มังคุด น้อยหน่า พุทรา เป็นต้น
  • วัสดุเพาะชำ 

วัสดุเพาะชำสำหรับการเพาะเมล็ด ต้องสามารถอุ้มความชื้น และระบายน้ำได้ดีพอสมควรไม่จับแน่นเกินไป วัสดุเพาะชำที่นิยมใช้ในการเพาะเมล็ดทั่วไป มีดังนี้ 

1. ขุยมะพร้าวละเอียด : ควรล้างน้ำ 3 น้ำ ตากแห้งสนิท ก่อนนำมาผสมเพาะเมล็ดไม้ 
2. แกลบดำ : ต้องแช่น้ำตากแดดสลับกันอย่างน้อยก็สัก 1 ครั้ง แช่สัก 3 คืน แตกแดดจนแห้ง
3. ทรายก่อสร้าง : ต้องแช่น้ำแล้วล้างสลับกันสัก 3 หน แล้วตากแห้งก่อนนำมาผสมเพาะเมล็ดไม้
สูตรดินผสมสำหรับเพาะเมล็ดในภาชนะปลูก
  • สูตร 1
  • ดินร่วน 1 ส่วน 
  • ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน 
  • ขุยมะพร้าว 1 ส่วน 
  • ขี้เถ้าแกลบ, ทราย 1 ส่วน 

  • สูตร 2
  • ดินร่วน 1 ส่วน 
  • ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน 
  • ขี้เถ้าแกลบ, ทราย 1 ส่วน 

สูตรดินผสมสำหรับเพาะเมล็ดในกะบะเพาะชำ 

ขุยมะพร้าว 1 ส่วน
ขี้เถ้าแกลบ, ทราย 1 ส่วน

ในกรณีที่นำขี้เถ้าแกลบมาใช้ ควรเป็นขี้เถ้าแกลบค้างปีถ้าเป็นขี้เถ้าแกลบใหม่ก่อนใช้ควรรดน้ำเช้า-เย็น อย่างน้อย 1 เดือน 

ควรเลือกเมล็ดที่มีลักษณะต่อไปนี้

  1. ส่วนประกอบภายในและภายนอกสมบูรณ์ไม่มีการแตกร้าวส่วนภายในยังสดและไม่เหี่ยวแห้งหรือผ่อ
  2. เลือกเมล็ดจากผลแก่จัด
  3. ต้องเป็นเมล็ดที่ไม่ถูกทำลายด้วยโรค และแมลง
  4. เมล็ดต้องมีชีวิตอยู่
  5. เมล็ดต้องพ้นระยะการพักตัว
เมล็ดบางชนิดจะมีการพักตัวเราต้องทำการแก้ไขการพักตัว ของเมล็ดซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
  1. โดยการตัดปลายเมล็ด เช่น เมล็ดหางนกยูง , มะม่วง , กระท้อน ฯลฯ
  2. โดยการแกะเอาเมล็ดออก เช่น พุทรา , มะม่วง มะกอก ฯลฯ
  3. โดยการล้างน้ำเอาเนื้อหุ้มเมล็ดออก เช่น ลางสาด ,ลูกู ,ลองกอง ,กระท้อน ฯลฯ
  4. โดยการแช่เมล็ดในน้ำ เช่น มะม่วงหิมพานต์ , มะละกอ ฯลฯ
  5. โดยการแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 40-45 องศาเซนเซียส นาน 2-3 ชั่วโมง เช่น น้อยหน่า ,หน่อไม้ฝรั่ง ฯลฯ
ก่อนจะนำเมล็ดไปเพาะควรแช่เมล็ดในสารฆ่าเชื้อราผสมกับยาฆ่าแมลง หรือคุกเมล็ดด้วยสารฆ่าแมลง เพื่อป้องกันมดทำลายเมล็ดที่เพาะ หรือจะไม่ใช้ก็ได้ตามความสะดวก
การทดสอบเมล็ด 

การทดสอบความงอกเมล็ดพันธุ์ 
เราสามารถทำการทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ได้สามวิธี คือ

  1. นำเมล็ดมา 100 เมล็ด วางบนกระดาษซับน้ำในจานแก้ว หรือในกล่องพลาสติก
  2. นำเมล็ดมา 100 เมล็ด วางเรียงระหว่างกระดาษซับชุ่มน้ำม้วนใส่ในถุงพลาสติกมัดยางให้แน่น
  3. โดยการใช้ตู้ซี่งควบคุมแสง ความชื้น และอุณภูมิ ทดสอบความงอกของเมล็ด
หลังจากนั้นทำการตรวจนับต้นกล้าที่งอก 3 วัน หรือ 1-2 สัปดาห์หลังจากเพาะแล้วแต่ละชนิดของเมล็ดพันธุ์นั้นๆ ซึ่งทำให้ทราบจำนวนความงอกของเมล็ดนั้นๆ ว่าในจำนวน 100 เมล็ดนั้น เมล็ดงอกจำนวนกี่ต้นเราสามรถคิดหาเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดที่จะทำการเพาะทั้งหมดได้ 



วิธีการเพาะเมล็ด 
การเพาะเมล็ดก็มีหลายแบบหลายวิธี

วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ด
๑. การตัดบางส่วนของเมล็ดออกหรือนำเมล็ดมาขัดบนกระดาษทราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมล็ดผักที่เป็นไม้ยืนต้น และเป็นเมล็ดที่เปลือกแข็ง
๒. การแช่เมล็ดในน้ำร้อน ๕๐-๕๕ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๑๕-๒๐ นาที แล้วนำมาตากให้แห้งในที่ร่ม วิธีนี้ยังช่วยป้องกันโรคผักที่จะเกิดจากเชื้อราได้ด้วย
๓. การแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำเย็น ๔-๑๒ ชั่วโมง แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดที่เก็บไว้นานมีเปอร์เซ็นต์การงอกดีขึ้น ต้นผักแข็งแรงขึ้น
ผักที่เหมาะสมกับวิธีแช่น้ำร้อนหรือเย็น ก็คือ ข้าวโพด มะเขือ มะเขือเทศ ผักกาด แครอท หอมหัวใหญ่ พริก พริกไทย แตงกวา และดอกทานตะวัน
ผักที่ใช้วิธีแช่น้ำในการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกไม่ได้คือ ผักในตระกูลถั่ว เพราะถั่วจะดูดซับน้ำได้ดี เมื่อแช่น้ำนานๆ ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อเมล็ดเสียหาย เมล็ดผักในตระกูลถั่วจึงต้องแช่ในขี้เถ้าแกลบ/ผงถ่าน/ขี้เลื่อย/กระดาษทิชชู หรือผ้าที่ชุ่มน้ำ แทนการแช่ในน้ำโดยตรง วัสดุเหล่านี้จะคายน้ำออกมาช้าๆ ทำให้เมล็ดค่อยๆ ดูดซึมน้ำไว้ และค่อยๆ ฟื้นตัวจากการนอนหลับขึ้นมา
เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกมีความสำคัญมากสำหรับการปลูกผักไร้สารพิษเพราะการมีเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ จะนำไปสู่การเพาะปลูกที่ประสบผลสำเร็จ เมล็ดพันธุ์ที่ดี จะทำให้การงอกของผักดี ต้นแข็งแรง สมบูรณ์ ต่อสู้กับแมลงและโรคได้ดี เจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรผู้ปลูกผักควรเน้นการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง แทนการซื้อจากตลาด เพื่อลดรายจ่าย และลดความเสี่ยงจากการได้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ เพราะปัญหาของผู้ปลูกผักในปัจจุบันก็คือ เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อมาเพาะไม่งอก เก็บพันธุ์ไว้ปลูกต่อไม่ได้ถ้าเก็บมาปลูกก็จะกลายพันธุ์

การปฏิบัติดูแลรักษาต้นกล้า 
หลังจากเพาะเมล็ดแล้ว ควรหมั่นดูแล รดน้ำโดยรดน้ำในช่วงตอนเช้าและตอนบ่ายนอกจากนี้ควรให้ป๋ย และพ่นยาป้องกันโรคและแมลงสม่ำเสมอ จนกว่าต้นกล้าจะโตแข็งแรงพอที่จะย้ายปลูกในแปลงได้
การย้ายต้นกล้า 




การย้ายต้นกล้าควรทำตั้งแต่กล้ายังไม่โตจนเกินไปทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนทำให้กล้าชะงักการเจริญเติบโตและพื้นตัวช้าก่อนการย้ายกล้า 7 – 10 วัน ควรลดการให้น้ำน้อยลงก่อนการย้ายต้นกล้าออกจากภาชนะที่เพาะควรรดน้ำให้วัสดุเพาะชำชุ่มเวลาถอนย้ายรากของต้นกล้าจะได้รับการกระทบกระเทือนน้อยลง การปลูกลงในภาชนะปลูกใหม่ควรกดดินปลูกให้ลงไปกระชับรากแล้วรดน้ำให้ชุ่มวางต้นกล้าไว้ที่ร่มเมื่อต้นกล้าพื้นตัวแข็งแรงแล้วจึงนำไปปลูกในแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น