วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรื่องน้ำ


น้ำเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ฉะนั้นเรามีต้องมีการจัดการเรื่องน้ำให้ทั่วถึงและเพียงพอการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ 
 "อย่ารอความช่วยเหลือจากใครถ้ารอไปรอมาเราจะพากันอดตายกันหมด " 

1. ขุดบ่อเก็บน้ำเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ 
ถ้าเรามีพื้นที่หลายไร่และต้องการมีแหล่งน้ำที่เพียงพอและพอมีเงินทุนก็สามารถจ่างรถให้มาขุดสระเก็บน้ำแทนเราได้


แต่ถ้าเรามีพื้นที่ไม่มากเท่าไหร่ก็สามารถขุดสระเก็บน้ำเองได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

ขุดสระแรกขนาดกว้าง 10*ยาว 10*ลึก 4 เมตร ต่อกับอีกสระกว้าง 10*ยาว 10*ลึก 1.5 เมตร จะได้สระ 10*20 เมตร 
ที่มีความลึก 2 ระดับ เป็นต้น 
ตามแนวทางการขุดสระของเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่มีพื้นที่บ่อสำหรับอนุบาลปลาเล็กด้วย และเวลาน้ำลดก็ยังใช้พื้นที่ดังกล่าว
ปลูกผักได้อีกด้วย


วิธีทำให้สระเก็บน้ำอยู่ได้ตลอดทั้งปี

1.ใช้พลาสติกคุมบ่อเพื่อการเก็บน้ำใช้ทั้งปีใช้และเลี้ยงปลา 
แต่วิธีนี้อาจจะทำให้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นและอาจจะต้องเปลี่ยนพลาสติดคุมเกือบทุกปี


2.ใช้บ่อคอนกรีตแต่ต้นทุนแพงมหาศาล
3.ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านโดยนำมูลสัตว์ 
หลักจากที่ทำการขุดบ่อเรียบร้อยแล้วก็ให้ทำการปล่อยน้ำเข้าบ่อให้เต็ม 
เมื่อปล่อยน้ำได้ในระยะสั้นๆ(ถ้าเป็นดินลูกรัง)น้ำก็จะแห้งและในขณะที่บ่อแห้งนั้น 
ให้นำมูลวัว   ประมาณ  3  กระสอบ (กระสอบละ  50  กิโลกรัม) ต่อพื้นที่ประมาณ  1  งาน โรยให้ทั่วก้นบ่อ     
หลังจากนั้นก็ให้ทำการสูบน้ำเข้าบ่อให้เต็ม โดยครั้งแรกนั้นอาจจะเก็บน้ำไว้ได้ไม่นาน เมื่อบ่อแห้งอีกรอบก็ให้นำมูลวัวมาโรยให้ทั่วบ่ออีกรอบ 
ทำอย่างนี้ประมาณ  4-5  ปี  บ่อก็จะกักเก็บน้ำได้นานตลอดทั้งปี  แถวยังช่วยให้หน้าดินภายในบ่อดีขึ้นอีกด้วย มูลวัวจะช่วยในการเคลือบ หรือรองกันบ่อทำให้ก้นบ่อเกิดดินเลนทำให้สามารถใช้บ่อดังกล่าวเลี้ยงปลาได้ตลอดทั้งปี


ถ้าหากไม่มีความสะดวกในการขุดสระน้ำ
ก็อาจจะเจาะบ่อบาดาลหรือบ่อน้ําตื้นแทนก็ได้แต่ขอให้มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการ


การสูบน้ำขึ้นมาใช้มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน 
1.ใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าหรืออาจจะใช้พลังงานจากอาทิตย์ผ่านแผงโซล่าเซลล์ช่วยในการลดต้นทุนค่าไฟได้

2.ใช้พลังงานจากลมให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างกังหันลมเพื่อสูบน้ำขึ้นมาใช้

ส่วนประกอบที่สำคัญ

1. ใบพัด ทำจากเหล็กกาวาไนท์หรือแผ่นสังกะสีชนิดหนาอย่างดี ไม่เป็นสนิมทนทานต่อกำลังลม ทำหน้าที่รับแรงลมแล้วเปลี่ยนพลังงานจลน์จากลมเป็นพลังงานกลและส่งต่อไปยังเพลาประธาน
2. ตัวเรือน ประกอบไปด้วยเพลาประธานหรือเพลาหลักทำด้วยเหล็กสแตนเลสที่มีความแข็งเหนียวทนต่อแรงบิดสูงชุดตัวเรือนเพลาประธานเป็นตัวหมุนถ่ายแรงกลเข้าตัวห้องเครื่อง ภายในห้องเครื่องจะเป็นชุดถ่ายแรงและเกียร์ที่เป็นแบบข้อเหวี่ยงหรือแบบ เฟืองขับ เพื่อถ่ายเปลี่ยนแรงจากแนวราบเป็นแนวดิ่งเพื่อดึงก้านชักขึ้นลง ใช้น้ำมันเป็นตัวหล่อลื่นในห้องเครื่อง

3. ชุด แพนหาง ประกอบไปด้วยใบแพนหางทำจากเหล็กแผ่น ที่ทำหน้าที่บังคับตัวเรือนและใบพัดเพื่อให้หันรับแรงลมในแนวราบได้ทุกทิศ ทาง และโซ่ล็อคแพนหางซึ่งทำหน้าที่ล็อคแพนหางให้พับขนานกับใบพัดเมื่อได้รับแรง ลมที่ความเร็วลมเกิน 8 เมตร/วินาที และส่ายหนีแรงปะทะของแรงลม  

4. โครงเสา ทำด้วยเหล็กประกอบเป็นโครงถัก (Truss Structure) ความสูงของกังหันลมสูบน้ำ มีความสำคัญอย่างมากในการพิจารณาติดตั้งกังลม เพื่อให้สามารถรับลมได้ดี กำหนดที่ความสูงประมาณ 12-15 เมตร และมีแกนกลางเป็นตัวบังคับก้านชักให้ชักขึ้นลงในแนวดิ่ง

5. ก้านชัก ทำด้วยเหล็กกลมตัน รับแรงชักขึ้นลงในแนวดิ่งจากเฟืองขับในตัวเรือน เพื่อทำหน้าที่ปั้มอัดกระบอกสูบน้ำ และถูกบังคับให้ชักขึ้นลงได้ในแนวดิ่งด้วยตัวประคองก้านชัก (Slip Control) ที่อยู่กึงกลางโครงเสาในแต่ละช่วง

6. กระบอกสูบน้ำ ลูกสูบของกระบอกสูบน้ำวัสดุส่วนใหญ่เป็นทองเหลืองหรือสแตนเลส มีความคงทนต่อกรดและด่าง สามารถรับแรงดูดและแรงส่งได้สูง มีหลายขนาดแต่ที่ใช้ทั่วไปมีขนาด 3 - 15 นิ้ว ใช้สูบน้ำได้ทั้งจากบ่อบาดาลและแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่นๆ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับระยะหัวน้ำและการออก

7. ท่อน้ำ ซึ่งจะประกอบไปด้วยท่อดูดขนาด 2 นิ้ว ต่อระหว่างปั้มน้ำกับแหล่งน้ำที่จะสูบและติดฟุตวาล์วกันน้ำไหลกลับ ท่อส่งขนาด 1.5 นิ้ว ต่อระหว่างปั้มน้ำกับถังกักเก็บน้ำเพื่อส่งน้ำที่ดูดได้ไปไว้ที่ถังเก็บน้ำ


3.ใช้กาลักน้ำและเครื่องตะบันน้ำโดยใช้หลักการของแรงดันอากาศและแรงโน้มของโลกให้เป็นประโยชน์



หากเรามีพื้นที่ใกล้แม่น้ำลำคลองหรือต้องการส่งน้ำขึ้นไปยังที่สูงๆเราสามารถใช้เครื่องตะบันน้ำส่งน้ำขึ้นไปใช้ได้
 วิธีทำเครื่องตะบันน้ำ
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1.ท่อพีวีชี ขนาด1.1/2นิ้วยาว10เชนติเมตร 6ชิ้น
2.ท่อพีวีชี ขนาด 3นิ้วยาว 50เชนติเมตร 1ชิ้น
3.ข้อต่อ3ทางขนาด1.1/2นิ้ว2ชิ้น
4.ข้อต่อลดขนาด 3นิ้วลดขนาด 1.1/2นิ้ว 1ชิ้น
5.เช็ควาล์ว 2ตัว (ชนิดลิ้นเกลียวในนะครับเพราะแบบสปริงผมลองแล้วไม่ทำงาน ต้องเสียเงินซื้อมาใหม่อีกรอบ)
6.เทปพันเกลียว 1ม้วน
7.น้ำยาประสานท่อ 1กระป๋อง
8.ฝาอุดท่อขนาด 3นิ้ว 1ชิ้น
9.ฝาอุดท่อขนาด1.1/2นิ้ว 1ชิ้น
10.ข้อต่อ3ทางลดขนาด 1.1/2นิ้วลดเป็นขนาด1/2นิ้ว 1ชิ้น
11.ข้อต่อเกลียวนอกขนาด1.1/2นิ้ว 3ชิ้น
                        ท่อเก็บแรงดัน
                               |
     ท่อน้ำออก--------สามทาง          วาวล์น้ำทิ้ง
                               |                |
                               |                |
ท่อน้ำเข้า----วาวล์-----สามทาง-----ข้องอ 90


4.พญาแร้งให้น้ำอาศัยแค่เพียงระบบสุญากาศและกฎแห่งแรงโน้มถ่วงช่วยในการดูดน้ำขึ้นมาจากบ่อเก็บน้ำ 

รูปแบบการทำงานพญาแร้ง

วิธีการทำพญาแร้งให้น้ำ


อุปกรณ์
1. ถังบรรจุน้ำ 200 ลิตร
2. ท่อ PVC ดูดน้ำ 6 หุน
3. ท่อ PVC ส่งน้ำ 2 นิ้ว และ 1 นิ้ว
4. ท่อพักอากาศระหว่างทาง
5. ฟุตวาล์วหัวกระโหลก หรือเช็ควาล์ว
6. วาล์วเปิดปิดที่ วาล์วเติมน้ำ วาล์วลม และวาล์วปลายสาย
7. ข้องอ ท่อเหล็ก และ ฐานวาง
ขั้นตอนการเตรียมถังบรรจุน้ำสุญญากาศ
1. นำถังเหล็กขนาด 200 ลิตรมาล้างทำความสะอาด ควรเลือกใช้ถังที่ไม่ได้ใช้บรรจุน้ำมันหรือสารไวไฟมาก่อน เพราะจะเกิดปัญหาระเบิดขึ้น มาขณะที่ทำการเชื่อมข้อต่อได้ ดังนั้นควรเลือกดีดีและทำความสะอาดภายในถังให้ดี ถังพลาสติกจะมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ
2. เจาะถังสำหรับต่อวาล์วเติบน้ำเพื่อเชื่อมข้องอ
3. เชื่อมข้องอเหล็กเข้ากับขอบด้านก้นถัง(วาล์วเติมน้ำ) โดยข้องอจะต้องต่อท่อเหล็กยาวอย่างน้อยประมาณ 15 cm ให้ลึกลงไปภายในถัง
4. วางถังบนฐานและต่อท่อดูดและวาล์วเติมน้ำ โดยที่ปลายของท่อดูดจะต่อฟุตวาล์วที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับลงไปในบ่อ ปลายท่อดูดควรจะจมอยู่ในน้ำลึกประมาณ 15 cm โดยผูกติดกับแกลลอนไว้ที่ปลายท่อดูด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อดูดน้ำควรมีขนาด 6 หุนยาวประมาณ 3 เมตรจะเหมาะกับถังขนาด 200 ลิตร และควรปรับแต่งสปริงของฟุตวาล์วลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง ฟุตวาล์วแบบเหล็กจะมีสปริงอ่อนกว่าฟุตวาล์วแบบพลาสติก5. ต่อวาล์วลม ที่รูระบายอากาศด้านบนของถังขนาดท่อ 6 หุน
5. ต่อท่อส่งน้ำขนาด 2 นิ้วด้านบนของถัง 
6. เดินระบบท่อส่งน้ำไปยังแปลงเพาะปลูก โดยท่อส่งน้ำในช่วงแรกจะมีขนาดประมาณ 2 นิ้ว อย่างน้อย 15 เมตร และทุก 50 เมตรจะต้องต่อท่อพักลมไว้ด้วย 
7. เมื่อระยะไกลมากขึ้นควรลดขนาดท่อส่งให้เหลือ 1 นิ้ว เพื่อรีดน้ำให้ไหลแรงขึ้น หรือเล็กลงเรื่อยๆ เพื่อให้น้ำเต็มท่อ
8. ต่อวาล์วเปิดปิดที่ปลายสายใช้งาน
ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้
1. เปิดวาล์วลม และวาล์วเติมน้ำ ปิดวาล์วปลายสาย โดยเติมน้ำให้เต็มถัง ให้สังเกตุด้วยว่าถ้าถังไม่รั่วเมื่อเติมน้ำเต็มถังแล้ว น้ำจะไม่ลดลงจะนิ่งอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าถังรั่วหรือส่วนใดส่วนหนึ่งรั่ว น้ำจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จะต้องแก้ปัญหารอยรั่วนั้นให้เรียบร้อยก่อน 
2. ปิดวาล์วลม และวาล์วเติบน้ำ แล้วเปิดวาล์วปลายสายค่อยๆ ให้น้ำไหลออกไม่ควรเปิดแรงมาก น้ำจะไหลออกมาระยะหนึ่งแล้วจะหยุดไหล หลังจากนั้นปิดวาล์วที่ปลายสาย แล้วเติมอากาศเข้าสู่ระบบโดยการการเอามือปิดที่ปลายวาล์วเติมน้ำแล้วเปิดวาล์วเติมน้ำเล็กน้อยให้อากาศเข้าแล้วปิด ทำแบบนี้ประมาณ สองสามครั้ง โดยให้อากาศเข้าไปอยู่ภายในถังประมาณ 25% 
ลองเปิดวาล์วปลายสายเบาๆ ดูอีกครั้งว่าน้ำไหลรึเปล่า ถ้าระบบเข้าสู่สภาวะที่สมดุลน้ำจะไหลออกมาได้เองอย่างต่อเนื่อง น้ำจึงไหลจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูงได้จากหลักการณ์สุญญากาศของระบบรวมถึงแรงกดของอากาศที่เกิดขึ้นจากภายในถังนั้นเองครับ
ถ้าน้ำไหลแล้วหยุดแสดงว่าน้ำกำลังไหลเข้าสู่ถังเพื่อปรับให้สุญญากาศเข้าสู่สมดุลเช่นเดิม วิธีแก้อาจจะเพิ่มถังให้เก็บปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรท่านแนะนำว่าควรใช้สี่ถัง และควรเป็นระบบน้ำหยดจะเหมาะที่สุด
ข้อมูลทั้งหมดเราสามารถนำไปปรับยุกต์ใช้และสามารถปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นได้ 
หากเราไปคนที่ชอบสังเกตุเรียนรู้และต่อยอดอยู่เสมอ

ความรู้อยู่ในธรรมชาติ
ใครที่ค้นพบก่อนคนผู้นั้นย่อมเกิดการพัฒนา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น