วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรื่องดิน


ดินเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการผลิตพืช 
เพราะเป็นแหล่งให้พืชได้ขึ้นอยู่และให้ธาตุอาหารที่จำเป็น แต่เนื่องจากการทำการเกษตรที่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานและการมีการทำการเกษตรที่ไม่ถูกต้อง 

การใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งอาจมีปัญหาทำให้สมดุลของธาตุอาหารในดินสูญเสียไปหรืออาจทำให้คุณสมบัติของดินเปลี่ยนไปในทางที่ไม่เหมาะสมจึงควรมีการตรวจและประเมิคุณภาพดินเพื่อที่จะให้ปุ๋ยได้ในปริมาณที่ต้นพืต้องการซึ่งหาก

เกษตรกรสามารถตรวจสอบคุณภาพดินได้เองก็จะช่วยประหยัดเวลาและตรวจสอบดินของตนเองได้ทุกเวลาที่ต้องการแล้วนำผลการวิเคราะห์นั้นมาปรับสภาพดินให้ตรงกับปัญหาและทันต่อเหตุการณ์ได้อย่างมีคุณภาพ 



 ดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกนั้น
1. สมบัติทางเคมี คือ ดินต้องมีความสมดุล ของแร่ธาตุอาหารพืช มีปฏิกิริยา ของดิน ที่เป็นกลาง คือดินต้องไม่เป็นกรดเป็นด่างหรือมีความเค็มจนเกินไป

2. สมบัติทางกายภาพ คือ ดินต้องมีความสมดุล ของอากาศ และ น้ำ ดินมีโครงสร้างที่ดี มีการร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี มีความสามารถ ในการอุ้มน้ำได้ดี เม็ดดินเกาะกัน อย่างหลวมๆ เพื่อช่วยให้รากพืชสามารถแผ่ขยาย และ ชอนไชไปหาแร่ธาตุอาหารพืชได้ง่าย ในระยะที่กว้าง และ ไกล เป็นดิน ที่อ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง

3. สมบัติทางชีวภาพ คือ เป็นดิน ที่มีความสมดุล  เป็นดิน ที่มีจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน ที่เป็นประโยชน์ ในปริมาณมาก ซึ่งสามารถควบคุมจุลินทรีย์ และ สิ่ง ที่มีชีวิตเล็กๆ ในดิน

การตรวจสอบดินแบบง่ายๆ

ดูจากต้นไม้ หากมีเยอะ ก็แสดงว่า ดินสมบูรณ์ หากขึ้นแต่หญ้า ไม่ค่อยมีต้นไม้อื่น ก็ถือว่าไม่คอยสมบูรณ์ ขุดขึ้นมา 
หากดินร่วน สีดำ ก็ถือว่าใช้ได้ ถ้ามีปลวกมาทำรังมีพวกไส้เดือนผีเสื้อ สัตว์เล็กสัตว์น้อย ถือว่าดินสมบูรณ์ เพราะว่าถ้าดินดีย่อมมีสิ่งมีชีวิต

ดินที่มีปัญหา 

ปัญหาไม่ว่าจะเป็นดินที่เสื่อม ขาดความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินกรวด ดินลูกรัง ดินเหมืองแร่ ดินพรุ ดินเปรี้ยว 

วิธีการบำรงดิน

1. การปรับปรุงบำรุงดิน โดยใช้ระบบพืชประกอบด้วย
1.1 การปลูกพืชต่างชนิดแบบผสมผสาน
1.2 การปลูกพืชหมุนเวียน
1.3 การปลูกพืชสดเป็นปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน
1.4 การปลูกพืชคลุมดิน 
ก่อให้ประโยชน์ดังนี้ป้องกันดินเป็นโรคป้องกันการชะล้างและพังทลายของดินลดศัตรูพืช ในดินรักษาอุณหภูมิดินทำให้ดินร่วนซุยอ่อนนุ่มไม่แข็งกระด้าง
2. การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้วัสดุเหลือใช้     
2.1 การใช้ปุ๋ยคอก
2.2 การใช้ปุ๋ยหมัก
2.3 การใช้เศษพืช

ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้ช่วยลดความเปรี้ยวความเค็มความเป็นด่างของดินให้น้อยลงลดศัตรูพืชในดินช่วยให้ดินร่วนซุยดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้นดินไม่แข็งช่วยดินมีพลังสามารถรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้มากขึ้นรักษาอุณหภูมิดิน ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
3. การใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงบำรุงดินจะช่วย
3.1 สร้างธาตุอาหาร
3.2 แก้ไขการขาดสมดุลจุลินทรีย์ในดิน
3.3 ช่วยป้องกันดินเป็นโรค
3.4 ช่วยย่อยอินทรีย์สาร
3.5 ลดสารพิษในดิน
4. การบำรุงดินโดยใช้วัสดุจากแหล่งธรรมชาติ
4.1 การใช้ปุ๋ยมาร์ล 
หินฝ่นปะการัง และ เปลือกหอย กระดูกป่น เป็นวัสดุปรับปรุง
ดินเปรี้ยว เพื่อลดความเปรี้ยว ของดินให้น้อยลง และ เป็นการเพิ่มธาตุอาหารพืช เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสให้ แก่ดิน
4.2 การใช้แร่ยิปซัม
ลดความเค็ม และ เพิ่มธาตุอาหาร เช่น แคลเซียม และ กำมะถันให้ แก่ดิน
5. การใช้เขตกรรม  
      
     การไถ พรวนลึก ช่วยปรับปรุงดิน
5.1 ป้องกันการเกิดโรค ในดิน
5.2 ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพดิน
5.3 เพิ่มชั้นดินให้สูงขึ้น
6. การใช้น้ำฝน 

     น้ำฝนเป็นน้ำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติขณะที่ฝนตกมีฟ้าแลบ ทำให้ก๊าซ ไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจนแอมโมเนียก๊าซนี้ละลายปะปนมากันน้ำฝนช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน ในดินเป็นประโยชน์ต่อ พืช ที่ปลูกได้

7. การปรับปรุงดิน โดยใช้ไส้เดือน
7.1 พรวนดินทำให้ดินร่วนซุย
7.2 สร้างอินทรียวัตถุ
7.3 เพิ่มธาตุอาหารพืช
7.4 ป้องกันน้ำท่วม
7.5 เพิ่มช่องอากาศ ในดิน 
ดินที่ทำการเกษตรทั่วไปและดินที่มีปัญหา ถ้านำมาใช้ ในการเกษตรนั้น เราสามารถใช้วิธีธรรมชาติปรับปรุงบำรุงดินได้  โดยเฉพาะ การเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ซึ่งปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์นำมาใช้ปรับปรุง บำรุงดิน  
การปรับปรุงบำรุงดิน โดยวิธีธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็น เพราะเป็นวิธีการ ที่ช่วยให้เกิดความสมดุลภาย ในดิน เป็นการช่วยรักษาทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์ ในการเพาะปลูกได้ อย่างถาวร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น