ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจวงจรของฤดูในประเทศของเราก่อนว่ามีฤดูอะไรบ้างฤดูไหนบ้างที่จะเกิดประโยชน์และผลกระทบกับการปลูกพืชของเราบ้างเพื่อที่สามรถวางแผนสำหรับการเพาะปลูกพืชให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด
สำหรับประเทศไทย ตั้งแต่เหนือก้นอ่าวไทยขึ้นไป เราแบ่งออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ส่วนมากชาวนาเริ่มหว่านข้าวเมื่อต้นฤดู และเก็บเกี่ยวข้าวภายหลังฟดูฝนแล้ว
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ช่วงระยะระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝน ไปเป็นฤดูหนาว
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ส่วนมากชาวนาเริ่มหว่านข้าวเมื่อต้นฤดู และเก็บเกี่ยวข้าวภายหลังฟดูฝนแล้ว
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ช่วงระยะระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูฝน ไปเป็นฤดูหนาว
เมื่อเราพอเข้าใจฤดูการต่างๆที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ของเราแล้ว เราก็จะสามารถวางแผนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่เราจะได้ใช้ประโยชน์จากฤดูกาลต่างๆ
ตัวอย่างการวางแผน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
เราอาจจะ สร้างบ้าน สร้างโรงเพาะชำ
สร้างบ่อน้ำ เจาะบ่อบาดาล วางระบบท่อน้ำ
วางระบบจ่ายน้ำ หากล้าไม้พันธุ์ไม้หรือ
เพาะเมล็ดพันธุ์ต่างๆรอการลงปลูก
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
เราอาจจะ ไถ่ที่ พรวนดิน ทำแปลงผัก
ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก ปลูกผลไม้
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
เราอาจจะ เก็บเกี่ยวผลผลิต ขยายพันธุ์ไม้
ทำปุ๋ย ขายผลผลิต
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการยกตัวอย่างไม่มีกฎตายตัวเราสามารถปรับเปลี่ยนวางแผนให้เข้ากับพื้นที่ของเราได้อย่างเหมาะสม
โดยที่เรานั้นค่อยๆลงมือทำและเรียนรู้กับฤดูกาลต่างๆที่เกิดขึ้น
เพราะแต่ละฤดูการนั้นก็จะมีศัตรูพืชต่างๆเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกันฉะนั้นเราขอให้เรารู้จักสั่งเกตุสิ่งที่เกิดขึ้นและจดบันทึกเอาไว้และหาทางแก้ไขและค่อยๆเรียนรู้ไปกับมัน เพราะโลกใบนี้ไม่มีกฏตายตัวทุกอย่างสามารถแปลงแปลงได้หมดไม้เว้นแต่ฤดูการ
" เราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนแปลงฤดูการได้แต่เราสามรถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้
ผู้ที่สามารถอยู่รอดบนโลกนี้ได้ไม่ใช่ผู้ที่เก่ที่สุดหรือแกร่งที่สุด แต่เป็นผู้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ต่างหาก "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น