ก่อนทำการเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ใหญ่สมศักดิ์ยึดอาชีพเกษตรกรรมแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่ดอนทำสวนผลไม้ และพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก ส่วนที่ลุ่มซึ่งเดิมเป็นที่ทำนา ปลูกข้าวก็ให้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มทุน เพราะสภาพพื้นที่เป็นดินทราย จึงหันไปปลูกมันสำปะหลัง ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำท่วม จึงไปกู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มาลงทุน จำนวน 1,000,000 บาท ปลูกส้มเขียวหวาน แต่ก็ประสพกับภาวะขาดทุน เพราะส้มเป็นโรคล้มตายทั้งสวนในปีที่ 3 “ทั้งนี้ได้ทำการเกษตรโดยพึ่งพาสารเคมีเป็นหลักทุกประเภท ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช เรียกได้ว่า ปุ๋ยทุกยี่ห้อรู้จักหมดจำติดอยู่ในสมอง แทรกซึมไปในทุกส่วนของร่างกาย เพราะได้รับการปลูกฝังมาโดยตลอดว่าทำการเกษตรต้องใช้ปุ๋ยเคมี ใช้สารเคมีต่างๆ มิเช่นนั้นพืชผักต่างๆที่ปลูกจะไม่มีให้เก็บ ไม้ผลที่มีอยู่จะไม่เกิดผลผลิต หรือไม่ฉีดยาป้องกัน แมลงจะมากินไม่มีผลผลิตขายให้พ่อค้า”
จุดเปลี่ยนของการตัดสินใจ จาก การผลิตแบบเดิมๆ ต้นทุนการผลิตสูงและประสบภาวการณ์ขาดทุน จึงไม่สามารถใช้หนี้ได้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จึงให้เกษตรกรที่เป็นหนี้ ล้มเหลว และไม่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพไปศึกษาดูงาน เช่น โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และศึกษาฟาร์มตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เช่น ศูนย์อนุรักษ์สมุนไพรไทย (นายดำรงศักดิ์ ชุมแสงพันธ์) อ.วังจันทร์ จ.ระยอง และศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร) อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน เริ่มทำให้คิดถึงแนวทางการเกษตรที่ปลอดภัย และช่วงในเวลานั้นผู้ใหญ่สมศักดิ์ฯ ได้รับคัดเลือกเป็นหมอดินอาสา กรมพัฒนาที่ดิน ได้มีโอกาสเดินทางไปอมรมสัมมนาในพื้นที่ต่างๆหลายแห่ง แนวคิดการทำมาหากินโดยไม่พึ่งสารเคมี จากที่ได้เยี่ยมชมแปลงของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ และข้อคิดเห็นจากนักวิชาการต่างๆ ที่เข้ามาส่งเสริม เริ่มปรับเปลี่ยนแนวความคิด โดยใช้เวลาศึกษาเรียนรู้และตัดสินใจนาน 2 – 3 ปี จนวันหนึ่งได้ตกผลึกในแนวคิดเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ จึงตัดสินใจทำการเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ปี 2539 รวมระยะเวลาประมาณ 14 ปี โดยไม่พึ่งพาสารเคมีทุกประเภท
นายสมศักดิ์ เครือวัลย์ เป็นหมอดินอาสาประจำตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เริ่มต้นจากการทำนา แล้วเปลี่ยนมาทำสวนทุเรียนกับสวนยางพารา แต่เมื่อราคาผลผลิตตกต่ำ ประสบภาวะขาดทุน จึงหันมาทำสวนส้ม หวังจะถอนทุนคืน แต่ก็ต้องขาดทุนซ้ำสองอีก เป็นหนี้สินอยู่ประมาณ 700,000 บาท จึงคิดจะหนี
ติดขัดด้วยกฎระเบียบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) ที่ว่า ถ้าใช้หนี้คืนไม่ได้ ก็ต้องเข้ารับการฝึกอบรม ไม่อย่างนั้นจะถูกยึดที่ดิน ลุงสมศักดิ์ จึง “จำใจ” เข้าอบรมอยู่หลายครั้ง แล้วก็เกิดความละอายใจว่าทำไมตัวเองถึงต้องมาอบรมหลายๆ ครั้ง ทั้งที่คนอื่นอบรมกันเพียงครั้งเดียว สุดท้ายได้แนวคิดจาก “วิวัฒน์ ศัลยกำธร” ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง จึงหันกลับมาคิดทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น
“ที่ผ่านมาเราทำแบบก้าวกระโดด ไม่ได้คิดอยากจะมีกิน คิดแต่จะรวย ลืมพื้นฐานของตัวเองไปว่าขาดความรู้” คิดได้ดังนั้น ลุงสมศักดิ์ก็เริ่มชีวิตใหม่ ด้วยการทำสิ่งที่ง่ายกว่า และใกล้ตัวกว่า
ขั้นพื้นฐานคือ ต้องมีกินก่อน และการทำกิน ดินต้องดีก่อน จึงเริ่มหาวัตถุดิบที่มีอยู่ใกล้ตัว เก็บมูลสัตว์ เศษซากมันสำปะหลัง ซังอ้อย ฯลฯ มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ลองผิดลองถูกอยู่นาน จนเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินระยองมาให้คำแนะนำ พืชผักในไร่ก็งามขึ้น พอปุ๋ยเหลือใช้เหลือเก็บก็แจกจ่าย พอให้ไปมากๆ คนที่นำไปใช้แล้วเห็นว่าดี ก็กลับมาซื้อ ประมาณ 3 เดือนกว่าๆ ก็สามารถขายปุ๋ยจนใช้หนี้หมด
ปรากฏการณ์เล็กๆ ที่เกิดขึ้นกับลุงสมศักดิ์ เผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว จากคำบอกเล่าปากต่อปาก ส่งผลให้เกษตรกรนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ เกิดการรวมกลุ่มกันทำปุ๋ยอินทรีย์ และแวะเวียนมาหาเพื่อขอคำแนะนำ ชักจะบ่อยเข้า ลุงสมศักดิ์จึงตัดสินใจปรับพื้นที่ 50 ไร่ เป็นแปลงสาธิต เน้นการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกไร่ที่ใช้สารเคมีเปรียบเทียบกับไร่อินทรีย์ให้ชาวบ้านได้เข้ามาดูของจริง
ในปี 2545 พื้นดังกล่าวพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง โดยการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) โดยมีฐานการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ ไร่แก้จน เลี้ยงหมูหลุม ทำปุ๋ยหมัก น้ำชีวภาพ ปลูกแฝก เผาถ่านทำน้ำส้มควันไม้ พลังงานทดแทนไบโอดีเซล แก๊สชีวภาพ ปลูกป่า 3 อย่าง ให้ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นต้น โดยเน้นทำให้ดูจริงๆ
โดยเฉพาะการทดลองปลูก “ป่าในสวน” เป็นการปลูกไม้เศรษฐกิจ ยางนา มะค่า ตะเคียน ร่วมกับไม้ผลต่างๆ และผลที่ได้ไม่พบโรคต่างๆ แมลงไม่รบกวน ด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย
นอกจากนี้ ลุงสมศักดิ์ ยังกันพื้นที่ไว้ 5 ไร่ ตั้งใจถวายให้ “ในหลวง” เวลานี้ทำเป็นจุดสาธิตเรียนรู้เกี่ยวกับเกษตรยั่งยืน ไม่มีการทำมาหากินในพื้นที่ แต่เป็นการจำลองจากของจริง งเช่น ปลูกผักกวางตุ้งให้เห็น แต่ไม่แนะนำให้ปลูก ให้ปลูกผักหวานดีกว่า
“ผักกวางตุ้งมันเป็นผักปัญญาอ่อน ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปลูกแล้วก็ต้องถอน ถอนแล้วก็ต้องมาปลูกใหม่ แต่ผักหวานเก็บแล้วสามารถงอกใหม่ได้” ลุงสมศักดิ์ เปรียบเทียบเสียเห็นภาพชัด
ลุงสมศักดิ์ยังเพาะกล้าไม้ไว้อีก 100,000 กล้า เพื่อแจกจ่ายให้คนที่เข้ามาฝึกอบรมนำกลับไปปลูกคนละ 5 ต้น นี่คือจุดเริ่มต้นในการปลูกป่า และให้ไปหาสะสมพันธุ์ไม้อื่นๆ มาปลูกเพิ่มเรื่อยๆ
“มีบางคนทำนา ไม่เคยปลูกต้นไม้ พอให้ไป 5 ต้น เขาไปหามาปลูกเพิ่มอีก จนทำให้นาของเขาเกือบจะเป็นป่า แนวคิดของผมมีอยู่ว่า ในชุมชนหนึ่ง ขอให้มีคนนำไปปลูกสักคน เพื่อให้เป็นต้นแบบในการปลูกป่าต่อไป เวลานี้ที่ส่งเสริมให้ปลูกป่ากฌมีประมาณ 300 กว่าครอบครัวแล้ว”
เป้าหมายในอนาคตที่ไม่ไกลเกินเอื้อมของลุงสมศักดิ์ คือการสร้างสังคมในอุดมคติ ที่ใครต่อใครอยากเห็น นั่นคือสังคมที่ไม่ได้ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนดการซื้อขาย แต่ใช้การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันแทน
“ต่อไปจะไม่มีคนปลูกข้าว ปลูกเงาะ ปลูกทุเรียน เพราะปลูกแล้วมันขาดทุน จึงคิดว่าจะปลูก แต่ไม่ขายได้ไหม นำมาแลกเปลี่ยนกันดีกว่า ผมก็ประสานงานกับคนที่สุพรรณบุรี ว่าเขามีผลิตภัณฑ์การเกษตรอะไร หากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ทางนี้ปลูกทุเรียน ก็นำทุเรียนไปแลกข้าว เราจะได้ 2 อย่าง คือ อย่างแรก ได้ทุเรียนแลกข้าวในราคายุติธรรมที่เราตั้งกันเอง อย่างที่สอง นำข้าวที่เราได้มาแปรรูปเป็นข้าวสารขายได้ราคาเพิ่มขึ้นอีก พอชาวสุพรรณได้ทุเรียนไปกิน เหลือกินก็นำไปขายได้อีก”
ด้วยการสร้างคุณงามความดีที่ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีชีวิตใหม่ ไม่พึ่งสารเคมี สามารถลดต้นทุน แก้ไขปัญหาหนี้สินได้ ทำให้ลุงสมศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งจากกรมป่าไม้ให้ดำรงตำแหน่งประธานป่าชุมชน บริเวณพื้นที่ป่ารอยต่อระหว่างชุมชนกับเขาหินตั้ง ซึ่งอยู่ข้างบ้านลุงสมศักดิ์ พื้นที่ 200 ไร่ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการเคลื่อนทัพดูแลเฝ้าระวัง และขณะนี้กำลังดำเนินการปลูกป่าเพื่อเป็นป่าแนวกันชนก่อนขึ้นเขาหินตั้ง
ไม่เพียงแต่เป็นนักสู้ที่ล้มแล้วลุกขึ้นแต่นักสู้คนนี้ยังก้าวไปไกลถึงขั้นสร้างสังคมแห่งอุดมคติอีกด้วย
'ทำไร่ 1 ไร่ ได้มากกว่า 1 แสน'
นางสมศรี เพ็งรุ่ง ชาวนาวัย 51 ปี ดีกรีจบปริญญาตรี อดีต ผู้ใหญ่บ้าน ม.4 ต.โคกใหญ่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรีทำนามาหลายสิบปี ปีละ 150 ไร่ แต่เพิ่งจะได้เข้าใจ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หมายความว่าอะไร
“อยู่บ้านเราทำนาปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงปลา ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เศรษฐกิจพอเพียง เรียกว่า ทำทุกอย่างตามที่ทางการแนะนำ มาเรียนทำนาที่นี่เราปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ แบบผสมผสานเหมือนกัน แต่ต่างกันตรง ที่เราเคยทำ จะทำแบบแยกกันอยู่ บ่อปลาก็อยู่ส่วนปลา นาก็อยู่ส่วนนา
แต่ที่นี้ นาข้าวกับบ่อปลา กบ กุ้ง หอย เป็ด เอามาปลูกเลี้ยงรวมอยู่ในพื้นที่แปลงเดียวกัน แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน สัตว์ขี้ออกมาเป็นปุ๋ยให้ต้นข้าว ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลงก็ไม่ต้องซื้อ
เพราะนอกจากจะมีเป็ดมาช่วยกำจัดศัตรูข้าวให้แล้ว สารพัดหญ้าวัชพืชที่เราเคยเห็นเป็นศัตรูตัวฉกาจต้องเผาทิ้ง หรือไม่ก็ใช้ยาฆ่าหญ้าทำลายทิ้ง แต่ที่นี้สอนให้เรามองวัชพืชเป็นมิตร มีประโยชน์สามารถเอามาทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารสัตว์ได้
และการไม่เผาทำลายหญ้าทิ้ง ทำให้ตัวเบียน แมลงกำจัดศัตรูพืชในธรรมชาติ ไม่ถูกทำลาย เราเลยปลูกข้าวอินทรีย์แบบปลอดสารพิษได้โดยไม่ต้องใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ช่วยลดต้นทุนปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ได้มาก”
ถ้าถามว่า 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน จริงแค่ไหน นางสมศรี บอกว่า สำหรับของตัวเธอตอนนี้ยังบอกไม่ได้ เพราะยังอบรมไม่จบโครงการ ยังไม่สามารถเคลียร์บัญชีรายรับรายจ่ายได้
แต่มั่นใจได้มากกว่า 1 แสน เพราะเพื่อนคนอื่นที่มาอบรมได้จดบัญชีไว้ สามารถทำได้เกือบ 2 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว 1 ไร่ น่าจะเหลือเกิน 1 แสน
เพราะการทำนา 1 ไร่ 1 แสน เกษตรกรมีรายได้สารพัด ทั้งจากการขายผัก ขายไข่เป็ด ขายปลา กบ กุ้ง หอย และขายข้าวอินทรีย์ไร้สารพิษ นอกจากจะได้ราคาสูงกว่า ผลผลิตที่ได้ยังสูงกว่าด้วย
“ทำนามาหลายปีไม่เคยเห็นที่ไหนปลูกข้าวได้ผลผลิตมากอย่างน่าตกใจขนาดนี้ อยู่บ้านเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้พันธุ์ข้าว 20-30 กก. พันธุ์ข้าว 1 เมล็ด ได้ข้าว 1 ต้น มี 1 รวง แต่ละรวงได้ข้าวแค่ 60-70 เมล็ด
แต่ที่นี่ใช้พันธุ์ข้าวแค่ 2 ขีดครึ่ง และพันธุ์ข้าว 1 เมล็ด ปลูกแล้วแตกกอได้ข้าว 52 ต้น ต้นละ 1 รวง แต่ละรวงได้ข้าวถึง 200 เมล็ด ผลผลิตต่างกันหลายเท่าตัว”
เพราะนอกจากจะมีเป็ดมาช่วยกำจัดศัตรูข้าวให้แล้ว สารพัดหญ้าวัชพืชที่เราเคยเห็นเป็นศัตรูตัวฉกาจต้องเผาทิ้ง หรือไม่ก็ใช้ยาฆ่าหญ้าทำลายทิ้ง แต่ที่นี้สอนให้เรามองวัชพืชเป็นมิตร มีประโยชน์สามารถเอามาทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารสัตว์ได้
และการไม่เผาทำลายหญ้าทิ้ง ทำให้ตัวเบียน แมลงกำจัดศัตรูพืชในธรรมชาติ ไม่ถูกทำลาย เราเลยปลูกข้าวอินทรีย์แบบปลอดสารพิษได้โดยไม่ต้องใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ช่วยลดต้นทุนปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ได้มาก”
ถ้าถามว่า 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน จริงแค่ไหน นางสมศรี บอกว่า สำหรับของตัวเธอตอนนี้ยังบอกไม่ได้ เพราะยังอบรมไม่จบโครงการ ยังไม่สามารถเคลียร์บัญชีรายรับรายจ่ายได้
แต่มั่นใจได้มากกว่า 1 แสน เพราะเพื่อนคนอื่นที่มาอบรมได้จดบัญชีไว้ สามารถทำได้เกือบ 2 แสนบาท หักค่าใช้จ่ายแล้ว 1 ไร่ น่าจะเหลือเกิน 1 แสน
เพราะการทำนา 1 ไร่ 1 แสน เกษตรกรมีรายได้สารพัด ทั้งจากการขายผัก ขายไข่เป็ด ขายปลา กบ กุ้ง หอย และขายข้าวอินทรีย์ไร้สารพิษ นอกจากจะได้ราคาสูงกว่า ผลผลิตที่ได้ยังสูงกว่าด้วย
“ทำนามาหลายปีไม่เคยเห็นที่ไหนปลูกข้าวได้ผลผลิตมากอย่างน่าตกใจขนาดนี้ อยู่บ้านเนื้อที่ 1 ไร่ ใช้พันธุ์ข้าว 20-30 กก. พันธุ์ข้าว 1 เมล็ด ได้ข้าว 1 ต้น มี 1 รวง แต่ละรวงได้ข้าวแค่ 60-70 เมล็ด
แต่ที่นี่ใช้พันธุ์ข้าวแค่ 2 ขีดครึ่ง และพันธุ์ข้าว 1 เมล็ด ปลูกแล้วแตกกอได้ข้าว 52 ต้น ต้นละ 1 รวง แต่ละรวงได้ข้าวถึง 200 เมล็ด ผลผลิตต่างกันหลายเท่าตัว”
นายเอกชัย เรือนคำ เกษตรกรวัย 19 ปี จาก ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นอีกคนที่ทึ่งกับการปลูกข้าว จากเดิมอยู่บ้านทำนา ถึงเวลาเก็บเกี่ยว ข้าวกอเดียวกำได้หลวมๆ สบายมือ...แต่ข้าวปลูกเองที่นี่ แต่ละกอมือเดียวกำแทบไม่มิด
จากเคยอยู่บ้าน วันๆเอาแต่ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยว กินเหล้า
เชียร์มวยตู้ เสียทั้งเงินทั้งเวลา ชีวิตตัวเองเหมือนไม่มีอนาคต เพราะช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน มีรายได้แค่พออยู่พอกินไปวันๆเท่านั้น แต่พอได้ศึกษาตามแนวทางเกษตรพอเพียงก็ ได้ลงมือทำเอง เห็นผลงานของตัวเอง ทำให้ตอนนี้มีความมั่นใจในอนาคตตัวเองมากขึ้น
“รู้ว่าจากนี้ไป สามารถทำอะไรเป็นอาชีพได้แล้ว กลับไปบ้านจะเริ่มจากเล็กๆก่อน ทำแค่ 1 ไร่ จนอยู่ตัว จากนั้นจะค่อยๆ ขยายพื้นที่ทำเป็น 2-3 ไร่ ทำแค่นี้ผมเชื่อว่าอยู่ได้สบาย”
จากเคยอยู่บ้าน วันๆเอาแต่ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยว กินเหล้า
เชียร์มวยตู้ เสียทั้งเงินทั้งเวลา ชีวิตตัวเองเหมือนไม่มีอนาคต เพราะช่วยพ่อแม่ทำนาทำสวน มีรายได้แค่พออยู่พอกินไปวันๆเท่านั้น แต่พอได้ศึกษาตามแนวทางเกษตรพอเพียงก็ ได้ลงมือทำเอง เห็นผลงานของตัวเอง ทำให้ตอนนี้มีความมั่นใจในอนาคตตัวเองมากขึ้น
“รู้ว่าจากนี้ไป สามารถทำอะไรเป็นอาชีพได้แล้ว กลับไปบ้านจะเริ่มจากเล็กๆก่อน ทำแค่ 1 ไร่ จนอยู่ตัว จากนั้นจะค่อยๆ ขยายพื้นที่ทำเป็น 2-3 ไร่ ทำแค่นี้ผมเชื่อว่าอยู่ได้สบาย”
นางอุทิศ หล่ออินทร์ เกษตรกร อายุ 41 ปี จาก ต.ท่าสะแก อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องการพิสูจน์ว่า 1 ไร่ 1 แสน จะได้จริงอย่างไรเลยได้ศึกษาหาข้อมูลตามแนวทางเกษตรพอเพียง
“ถ้าเกษตรกรไทยทำอย่างนี้กันมาก จะช่วยลดการรุกป่าสร้างที่ทำกินได้ไม่น้อย เพราะพื้นที่แค่ 1 ไร่ ทำเงินได้เป็นแสน ได้มากกว่าการทำเกษตรแบบเดิมที่ใช้พื้นที่หลายสิบไร่
ฉันเองมีนาอยู่ 7-8 ไร่ ให้ผลผลิตแค่พอเก็บไว้กิน รายได้หลักมาจากทำไร่ข้าวโพด ในเนื้อที่บุกเบิกป่า 30 ไร่ ปีที่แล้วลงข้าวโพด ขายได้เงินประมาณ 98,000 บาท หักต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาแล้วเหลือ
40,000-50,000 บาท แต่นี่ต้องลงมือทำเองนะ จ้างคนอื่นไม่ได้ เพราะถ้าจ้าง ค่าแรงจะกินหมดไม่เหลือกำไร”
คิดดู 1 ไร่ ทำเงินได้มากกว่า 30 ไร่ จะช่วยลดการรุกป่าได้ขนาดไหน...เป็นวิชั่นจากสมองชาวนาที่ยากจะหาได้ในกลุ่มผู้บริหารประเทศ
ในขณะที่ชาวนาอย่าง สมศรี ทำนาปีละ 150 ไร่ เป็นนาของตัวเอง 5 ไร่ ที่เหลือเป็นนาเช่าจากนายทุน บอกว่า อบรมจบหลักสูตร 5 เดือน จะกลับไปทำนาแบบนี้ในที่ดินของตัวเองสัก 1 ไร่ นอกจากจะให้เพื่อนชาวนาได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว
ผลผลิตที่ได้จะไม่ขายไม่จำนำ แต่จะเก็บไว้กินเอง เพราะเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดภัยไร้สารพิษ...คนในครอบครัวจะได้ปลอดภัยห่างไกลมะเร็ง
ส่วนแปลงนาที่เช่านายทุนจะทำนาใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เอาไปขายเข้าโครงการรับจำนำเหมือนเดิม
และเมื่อถามว่า ในเมื่อมีที่ทำนามากมาย รายได้จากการขายข้าวเข้าโครงการจำนำ ที่รัฐบาลบอกว่าช่วยให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้นนั้นจริงไหม
เธอตอบว่า ก็ได้บ้าง แต่ไม่มากเหมือนที่ว่ากัน...ราคาจำนำที่บอกว่า ตันละ 15,000 บาท แต่พอเอาข้าวไปโรงสี ถูกหักค่าความชื้น ค่าสิ่งเจือปน
ชาวนาดูไม่ออก ตรวจวัดไม่เป็น...ทำไปทำมาได้แค่ตันละ 11,000-11,400 บาท
ในขณะที่สารพัดต้นทุนขยับขึ้นราคายกแผง...แบบเดียวกับประกาศขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ของกินของใช้ขึ้นราคาไปรอล่วงหน้า โดยที่รัฐบาลทำได้แค่ให้สัมภาษณ์ ได้สั่งการกำชับให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลแล้ว แต่มิเคยช่วยให้ของถูกลงแต่อย่างใดนั่นแหละ
“ค่าเช่าที่นาก่อนหน้านี้ อยู่ที่ไร่ละ 500 บาท แต่พอรัฐบาลประกาศให้ราคาจำนำสูง ค่าเช่าก็ขึ้นไปเป็นไร่ละ 1,200-1,500 บาท เพราะเจ้าของที่นาอ้างว่า รัฐบาลให้ราคาข้าวดี เขาก็ควรได้ราคาดีด้วย”
“ถ้าเกษตรกรไทยทำอย่างนี้กันมาก จะช่วยลดการรุกป่าสร้างที่ทำกินได้ไม่น้อย เพราะพื้นที่แค่ 1 ไร่ ทำเงินได้เป็นแสน ได้มากกว่าการทำเกษตรแบบเดิมที่ใช้พื้นที่หลายสิบไร่
ฉันเองมีนาอยู่ 7-8 ไร่ ให้ผลผลิตแค่พอเก็บไว้กิน รายได้หลักมาจากทำไร่ข้าวโพด ในเนื้อที่บุกเบิกป่า 30 ไร่ ปีที่แล้วลงข้าวโพด ขายได้เงินประมาณ 98,000 บาท หักต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาแล้วเหลือ
40,000-50,000 บาท แต่นี่ต้องลงมือทำเองนะ จ้างคนอื่นไม่ได้ เพราะถ้าจ้าง ค่าแรงจะกินหมดไม่เหลือกำไร”
คิดดู 1 ไร่ ทำเงินได้มากกว่า 30 ไร่ จะช่วยลดการรุกป่าได้ขนาดไหน...เป็นวิชั่นจากสมองชาวนาที่ยากจะหาได้ในกลุ่มผู้บริหารประเทศ
ในขณะที่ชาวนาอย่าง สมศรี ทำนาปีละ 150 ไร่ เป็นนาของตัวเอง 5 ไร่ ที่เหลือเป็นนาเช่าจากนายทุน บอกว่า อบรมจบหลักสูตร 5 เดือน จะกลับไปทำนาแบบนี้ในที่ดินของตัวเองสัก 1 ไร่ นอกจากจะให้เพื่อนชาวนาได้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว
ผลผลิตที่ได้จะไม่ขายไม่จำนำ แต่จะเก็บไว้กินเอง เพราะเป็นข้าวอินทรีย์ปลอดภัยไร้สารพิษ...คนในครอบครัวจะได้ปลอดภัยห่างไกลมะเร็ง
ส่วนแปลงนาที่เช่านายทุนจะทำนาใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง เอาไปขายเข้าโครงการรับจำนำเหมือนเดิม
และเมื่อถามว่า ในเมื่อมีที่ทำนามากมาย รายได้จากการขายข้าวเข้าโครงการจำนำ ที่รัฐบาลบอกว่าช่วยให้ชาวนามีรายได้สูงขึ้นนั้นจริงไหม
เธอตอบว่า ก็ได้บ้าง แต่ไม่มากเหมือนที่ว่ากัน...ราคาจำนำที่บอกว่า ตันละ 15,000 บาท แต่พอเอาข้าวไปโรงสี ถูกหักค่าความชื้น ค่าสิ่งเจือปน
ชาวนาดูไม่ออก ตรวจวัดไม่เป็น...ทำไปทำมาได้แค่ตันละ 11,000-11,400 บาท
ในขณะที่สารพัดต้นทุนขยับขึ้นราคายกแผง...แบบเดียวกับประกาศขึ้นเงินเดือน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ของกินของใช้ขึ้นราคาไปรอล่วงหน้า โดยที่รัฐบาลทำได้แค่ให้สัมภาษณ์ ได้สั่งการกำชับให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลแล้ว แต่มิเคยช่วยให้ของถูกลงแต่อย่างใดนั่นแหละ
“ค่าเช่าที่นาก่อนหน้านี้ อยู่ที่ไร่ละ 500 บาท แต่พอรัฐบาลประกาศให้ราคาจำนำสูง ค่าเช่าก็ขึ้นไปเป็นไร่ละ 1,200-1,500 บาท เพราะเจ้าของที่นาอ้างว่า รัฐบาลให้ราคาข้าวดี เขาก็ควรได้ราคาดีด้วย”
ค่าปุ๋ยจากกระสอบละ 700 บาท ขยับเป็น 980 บาท...ค่ายากำจัดศัตรูพืช เคยอยู่ที่ลังละ 2,700 บาท ขึ้นเป็น 4,200 บาท
พื้นที่ปลูกข้าวนาปีนาปรังรวมกันประมาณ 73 ล้านไร่...1 ไร่ใช้ปุ๋ย 2 กระสอบ...10 ไร่ ใช้ยา 1 ลัง
คิดดูก็แล้วกันรับจำนำ นายทุนผูกขาดขายปุ๋ย–ยาฆ่าแมลง และแลนด์ลอร์ดนายทุนที่นาฟันไปกี่หมื่นล้าน...อย่างนี้หรือที่เขา เรียกว่าช่วยชาวนา แต่พอได้ทำตามแนวทางเกษตรพอเพียงจึงได้ค้นพบคำตอบว่าเป็นแนวทางที่มั่งคั่งและยั่งยืน
พื้นที่ปลูกข้าวนาปีนาปรังรวมกันประมาณ 73 ล้านไร่...1 ไร่ใช้ปุ๋ย 2 กระสอบ...10 ไร่ ใช้ยา 1 ลัง
คิดดูก็แล้วกันรับจำนำ นายทุนผูกขาดขายปุ๋ย–ยาฆ่าแมลง และแลนด์ลอร์ดนายทุนที่นาฟันไปกี่หมื่นล้าน...อย่างนี้หรือที่เขา เรียกว่าช่วยชาวนา แต่พอได้ทำตามแนวทางเกษตรพอเพียงจึงได้ค้นพบคำตอบว่าเป็นแนวทางที่มั่งคั่งและยั่งยืน
โจน จันได ชีวิตที่เรียบง่าย
ชีวิตมันเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่เราทำให้มันยากเองและอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผมได้เรียนรู้คือ ใช้เวลาไม่มากนักในการหากินมันเหลือกินแล้ว แต่เราใช้เวลาเยอะมากในการหาเพื่อครอบครัว ฉะนั้นใช้ชีวิตให้ง่ายดีกว่า หลังจากนั้นมาผมก็เชื่อในเรื่องชีวิตนี้มันง่ายมาตลอด ทำไมต้องทำให้มันยาก ก็เลยเปลี่ยนชีวิตผมมาตลอดเลย
ไปอยู่บ้านผมยิ่งสบาย ผมพยายามที่จะพูดกับคน คนที่เย็บหมอนที่บ้านว่าทำหมอน หมอนพวกสามเหลี่ยม หมอนหนุน เย็บหมอนทั้งวันทั้งคืนเพื่อที่มีเงินไปซื้ออาหารจากตลาดมา วันเดียวหมดมื้อเดียว
ไปอยู่บ้านผมยิ่งสบาย ผมพยายามที่จะพูดกับคน คนที่เย็บหมอนที่บ้านว่าทำหมอน หมอนพวกสามเหลี่ยม หมอนหนุน เย็บหมอนทั้งวันทั้งคืนเพื่อที่มีเงินไปซื้ออาหารจากตลาดมา วันเดียวหมดมื้อเดียว
โจน จันได มนุษย์บ้านดินคนแรกของเมืองไทย วันนี้มาในชุดกางเกงเลสีดำสบายๆ กับเสื้อกันหนาวสีดำหม่นๆ มอๆ เหมือนมีเศษหญ้าเศษดินติดมาจากเชียงใหม่ พี่แกเพิ่งลงจากเครื่องสดๆ เพื่อมางานนี้ และมีคิวอัดรายการทีวี ก่อนจะบินกลับเชียงใหม่ภายในวันเดียว
ในระยะประชิด สายตาที่มองเห็นตรงหน้าคือชายผู้ผิวกายกร้านแดดเหมือนชาวไร่ชาวนาตามชนบททั่วไป ดวงตาปรานีทว่าแฝงแววมุ่งมั่นจริงจัง น้ำเสียงโอบอ้อมอารีเป็นมิตร ขณะสนทนา สายที่ก้มมองพื้น บังเอิญเห็นเท้าของพี่โจนเล่นเอาตกตะลึงไม่น้อย
รองเท้าแตะยี่ห้อดาวเทียมสีเหลืองที่ดูแข็งแรงทนทานเหมาะกับเท้าอันทำงานหนักของชาวไร่ชาวนา ที่ตะลึงคือ หูคีบรองเท้าด้านขวาหลุดขาด (ตามปกติของรองเท้าชนิดนี้ที่มักขาดตรงหูคีบก่อนเสมอ) พี่แกใช้ผ้าร้อยรัดแทนและสวมใส่มันปกติ
เห็นแล้วอดไม่ได้ที่จะคิดถึงผู้คนตามต่างจังหวัด หากมองว่าประหยัดหรือขาดแคลนก็คงไม่ผิด แต่นี่ไม่ใช่หรือคือการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าที่สุด
รองเท้าของพี่โจนทำให้นึกถึงคำพูดของใครสักคนที่บอกว่า รองเท้า ชื่อก็บอกว่าเอาไว้รอง ‘เท้า’ ไม่ใช่ ‘รองเกียรติ’ พินิจดูตามความเป็นจริงก็ใช่
เหมือนกัน – เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หากจะว่ากันตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริง ก็เพียงเพื่อปกปิดร่างกายไม่ให้ดูอุดจาดตา – เท่านั้นเอง
ปฏิเสธได้หรือว่า ทุกวันนี้มนุษย์บริโภคสิ่งของผิดความหมายตามที่มันควรจะเป็น ?
วันนี้พี่โจน จันได มาบอกเล่าเรื่องราวชีวิตที่เหมือนว่าได้ค้นพบวิถีใหม่ให้กับชีวิต
“ทำงานบ้านดินมา 10 ปี รู้สึกว่าเหนื่อย จึงอยากพัก บ้านดินทำเมื่อไหร่ก็ได้ แต่สิ่งที่อยากทำจริงๆ ในตอนนี้ คือการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านแท้ๆ การเก็บเมล็ดพันธุ์มีความสำคัญกว่าการทำบ้านดิน เพราะความรู้ในการทำบ้านดิน เรียนรู้ได้ง่าย ทำเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เมล็ดพันธุ์นับวันจะหายไปจากโลกทุกวัน การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต้องรีบทำ ไม่อย่างนั้นจะหายไปจากโลก ต้องเร่งรีบเก็บรักษาไว้”
ด้วยความคิดนี้ พี่โจนหาซื้อที่ดินที่อำเภอแม่แตง และลงมือปลูกพืชผัก ตั้งชื่อว่า ไร่พันพรรณ มีคนอาศัยและช่วยงานอยู่ 7-8 คน เป็นครอบครัวเล็กๆ มีแขกแวะเวียนไปเยี่ยมบ้าง บางคนทำงานในเมืองมานาน เบื่อหน่ายเมือง เบื่อหน่ายตัวเอง และอยากไปทดลองใช้ชีวิต ก็มาขออาศัยอยู่ที่ไร่
ที่ไร่ไม่มีทีวี ไม่มีหนังสือพิมพ์ (ก่อนขึ้นเวทีพี่โจนบอกว่า ไม่ได้อ่านหนังสือมานาน)
ทั้งคนไทย ทั้งฝรั่ง ต่างผลัดเปลี่ยนกันมาเรียนรู้วิถีชีวิตแบบสมถะกับพี่โจน
“เราเน้นการพึ่งตนเองด้วยปัจจัยสี่ อาหาร บ้าน ผ้า และยา เรามีความเชื่อว่าชีวิตที่พัฒนาที่ดีที่สุด ชีวิตที่มีความสุขที่สุดคนต้องเข้าถึงปัจจัยสี่ได้ง่ายที่สุด แต่การพัฒนาทุกวันนี้รู้สึกว่ามีแต่เลวลง แย่ลง
“ทุกวันนี้คนกว่าจะได้บ้านหลังหนึ่ง ต้องทำงานเก็บเงินเป็นยี่สิบสามสิบปี แสดงว่าแย่มาก อาหารก็แพงขึ้น และไม่มีความปลอดภัยเลย เราไม่รู้ว่าเขาเอาอะไรมาให้เรากิน การพัฒนาที่เป็นอยู่ ชีวิตที่คนทุกวันนี้เป็นอยู่เป็นสิ่งที่หาสาระไม่ได้เลย เราทำไปด้วยความงมงาย ด้วยความไม่รู้เรื่องรู้ราว ทำชีวิตให้ยากขึ้นๆ ๆ ๆ จนลืมไปว่าชีวิตเกิดมาทำไม ครอบครัวเป็นยังไง มีความสำคัญยังไง ธรรมะคืออะไร ความสุขเป็นยังไง ไม่มีใครสอนเลย คนมีแต่ซื้อๆๆๆ เพื่อให้มีความสุข แต่ความจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย?
“คนบอกว่าอยากมีเสรีภาพ ต้องมีโทรศัพท์มือถือ ต้องมีอะไรมากมาย และจะมีเสรีภาพอย่างที่เขาโฆษณา แต่ความจริงมันคือเสรีภาพจริงๆ มั้ย?
“สุดท้าย เราก็เลยกลับมาชีวิตว่า ชีวิตที่มีความสุข คือชีวิตที่ง่าย บริโภคน้อยลง พึ่งตนเองได้ เราก็เลยกลับมาที่ปัจจัยสี่ อาหาร บ้าน ผ้า และยา”
มนุษย์ต้องหาเงินเป็นแสนเป็นล้านเพื่อให้มีบ้านสักหลัง ขณะที่ นก หนู สามารถทำรังได้ในวันเดียว
“เมื่อมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าฉลาดที่สุดในโลก แต่ทำไมเราทำในสิ่งที่โง่ที่สุด”
พี่โจนบอกว่ามันผิด ถ้ายากแสดงว่ามันผิด
“อย่างการมีอาหาร คนทำงานในเมืองวันละ 8-12 ชั่วโมงแต่ไม่พอกินสำหรับคนเดียว ทำเพื่ออะไรกัน แต่ผมทำสวนวันละ 30 นาที ผมมีอาหารเลี้ยงคน 7-8 คนได้สบาย ง่ายมากเลย นี่คือความง่าย”
“บางคนซื้อเสื้อผ้าตัวละเป็นพันสองพัน ทำงานกี่เดือนถึงจะได้เสื้อ ทำไมต้องทำให้มันยาก เราหลอกตัวเอง เราทำให้ชีวิตมันยากขึ้นๆ อย่าลืมว่าคนเรามีชีวิตไม่ยาวนักบนโลกนี้ อีกไม่นานก็ตายแล้ว แต่ทำไมเราเอาเวลาที่มีค่าสูงสุดมาทำสิ่งไร้สาระไม่เป็นประโยชน์กับตัวเรา
“ใส่เสื้อผ้าสวยๆ รู้สึกยังไง ใส่เสื้อผ้าสวยแค่ไหน คนไม่สวยก็ไม่สวยเหมือนเดิม ไม่มีดั้งก็ไม่มีเหมือนเดิม เราหลอกตัวเอง หลอกคนอื่นทำไม
“อยากให้เห็นว่าชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าง่ายไม่ได้ มีความสุขไม่ได้ ความง่ายก็คือสิ่งที่เราได้มาโดยไม่ยากและก็ไม่เป็นทุกข์”
จากบ้าน เสื้อผ้า มาถึงเรื่องอาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่
พี่โจน จันได กำลังสนุกกับการปลูกพืชและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ เก็บแบบบ้านๆ ไม่ต้องพึ่งห้องแลปแบบวิทยาศาสตร์
“ไม่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีมากเกินไป เพราะเราเก็บจากชาวบ้าน เก็บจากชีวิตประจำวัน ปลูกไปด้วย กินไปด้วย คัดเลือกไปด้วย เก็บพันธุ์ไปเรื่อยๆ พยายามที่จะแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ให้ชาวบ้านไปเรื่อยๆ เราจะรักษาในลักษณะนี้”
พี่โจน จันได บอกว่า อยากให้คนหันมาเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านไว้ให้เยอะขึ้น อย่างมีสัก 10 คน หายไป 3 คนก็ยังเหลืออีก 7 ดีกว่าไม่มีใครเก็บเลย
ทำไมต้องเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์?
“การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แท้ พันธุ์พื้นบ้านเป็นสิ่งสำคัญ เพราะธุรกิจทุกวันนี้เอาเมล็ดพันธุ์ผสมมาให้เราปลูก ต่อไปถ้าเราไม่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง เราต้องพึ่งเมล็ดพันธุ์จากบริษัทตลอด และถ้าบริษัทขึ้นราคาเมล็ดพันธุ์ เราก็ต้องซื้อเขา”
มีตัวอย่างชาวบ้านที่ยโสธร (บ้านเกิดพี่โจน จันได) ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์แตงโมกิโลกรัมละ 12,000 บาท -ให้ตายสิ!!!
พี่โจน จันได มองว่าเราต้องกลับมาคิดเรื่องเมล็ดพันธุ์กันใหม่
“ใครยึดครองเมล็ดพันธุ์ได้ คนนั้นครองโลก”
คำพูดนี้คงไม่เกินเลยนัก เพราะดูจะสอดคล้องกับที่เห็นและเป็นอยู่ บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่พยายามแย่งชิงพันธุ์พืช มีการขโมย มีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ มีการทดลองดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์พืช เพื่อจะเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว บริษัทยักษ์ใหญ่ในเมืองไทยผู้ที่บอกว่าจะเป็นเจ้าของประเทศนี้ก็กำลังรุกคืบผลิตอาหารทุกอย่าง เดินไปตามท้องถนนคงเห็นป้ายโฆษณา รวมถึงการกระหน่ำยิงสปอตทางทีวี วิทยุ ตู้ขายอาหารริมทางของบริษัทนี้ก็มีเกลื่อนกลาด
ทำไมต้องทำเช่นนั้น?
ก็เพราะอาหารเป็นสิ่งที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ไม่มีเงินยังอยู่ได้ แต่ไม่มีอาหารจะอยู่ได้สักกี่วัน?
“ชีวิตเราล่อแหลมต่อการล่มสลายมาก เราบริโภคกันจนไม่รู้จะบริโภคยังไงแล้ว เงินไม่มีความมั่นคงต่อไปอีกแล้ว แต่สิ่งที่มั่นคงคืออาหาร กินเมื่อไหร่ก็ได้ อาหารต่างหากที่มีความมั่นคง”
พี่โจน จันได ยกตัวอย่างไฟฟ้าาดับครั้งใหญ่ในอเมริกา เจ้าของธุรกิจต้องนั่งนอนตามท้องถนน ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำงานไม่ได้ ขึ้นลิฟท์ไม่ได้ กินไม่ได้ เพราะมีแต่เงิน…ไม่มีใครขายอาหารให้
ไม่ว่ามนุษย์จะพัฒนาเทคโนโลยีไปไกลสุดขอบจักรวาล แต่สุดท้ายแล้ว ก็หนีไม่พ้นต้องกลับมาสู่เรื่องอาหารการกิน ชีวิตถึงจะมีความสุขได้
เราจะวิ่งตามเงินหรือมีความสุขอยู่กับตัวเอง?
คำถามช่างยอกย้อนใจคนที่กำลังสับสนอยู่ในวังวนของเมืองดีแท้
“คนจะมีความสุขไม่ได้ มีเสรีภาพไม่ได้ พึ่งตนเองไม่ได้ ถ้าไม่มีเมล็ดพันธุ์”
คำพูดของพี่โจน จันไดทำให้ต้องก้มลงมองผืนดินที่กำลังเหยียบยืน พร้อมด้วยคำถามมากมายในหัว
“เมล็ดพันธุ์เป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษส่งต่อมาให้ลูกหลาน เรามีมะม่วงหลากหลายชนิดกิน มีพืชผักผลไม้อะไรอร่อยๆ มากมายกินก็เพราะการทำงานหนักของบรรพบุรุษที่จะรักษาตรงนี้ไว้ ถ้าเราไม่รักษาไว้ เราจะเป็นมนุษย์รุ่นสุดท้ายที่เนรคุณที่สุด เพราะเรากำลังทำลายเมล็ดพันธุ์”
เราคงยังไม่อยากถูกตราหน้าว่าเนรคุณ ใช่มั้ย?
“ดินที่เต็มไปด้วยพันธุ์พืช นั่นคือสวรรค์” พี่โจนสรุปสิ่งที่สัมผัสได้จากการอยู่กับดิน
“เอาเงินมากมายไปปลูกต้นไม้ ดีกว่าไปฝากธนาคาร เพราะปลูกต้นไม้ยังได้เจริญเติบโต เป็นประโยชน์ ให้ผลผลิตได้กินไม่มีที่สิ้นสุด
มนุษย์ผู้ปลีกตัวไปสู่ความเรียบง่าย สมถะทิ้งท้ายด้วยความห่วงใยชีวิตบนโลกใบนี้ว่า
“เราต้องเพาะปลูกพันธุ์พืช ปลูกเพาะเมล็ดพันธุ์ในใจของเรา เพื่อให้ยืนยาวต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน”
พุทธวจนะตรัสไว้ว่า เวลาผ่านไป เรากำลังทำอะไรอยู่?
ธงไชย คงคาลัย : พึ่งตนเองได้
ชนะทุนนิยม ชนะฝรั่ง ชนะทั้งโลก
ธงไชย คงคาลัย หนึ่งใน ฅ ฅน ผู้ประสบความสำเร็จจากการใช้ศาสตร์พระราชาแก้วิกฤต ผู้ซึ่งเคยเดินตามแนวทางทุนนิยมจนก้าวหน้าในหน้าที่การงานของบริษัทด้านการเกษตรชั้นนำของประเทศ เคยฮึกเหิมลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ด้วยความมั่นใจจากรากฐานความรู้ และชั้นเชิงธุรกิจ แต่แล้วกลับได้ความล้มเหลวและหนี้สิน ๕๐ ล้านเป็นรางวัล
นายธงไชย คงคาลัย ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตนเอง “สวนธงไชย –ไร่ทักสม”
เขาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรใหม่ จากที่เคยทำฟาร์มปศุสัตว์ทั้ง ปลา ไก่ และสุกรจนเป็นหนี้สิน 50ล้านบาทแต่เมื่อได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการเกษตรจากพ่อแม่มาเป็นแนวทาง การเกษตรใหม่ ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินทั้งหมดได้โดยเชื่อว่าทางออกของปัญหาภาคเกษตรกรรม ของไทย เกษตรกรต้องยึดมั่นในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการรักษาป่าไม้อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ไว้ให้ ได้
เขาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรใหม่ จากที่เคยทำฟาร์มปศุสัตว์ทั้ง ปลา ไก่ และสุกรจนเป็นหนี้สิน 50ล้านบาทแต่เมื่อได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการเกษตรจากพ่อแม่มาเป็นแนวทาง การเกษตรใหม่ ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินทั้งหมดได้โดยเชื่อว่าทางออกของปัญหาภาคเกษตรกรรม ของไทย เกษตรกรต้องยึดมั่นในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการรักษาป่าไม้อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ไว้ให้ ได้
“ว่าวขึ้นสูงโดนลมโต้บ้าง…ธรรมดา” และ “ความรู้อยู่ในธรรมชาติ ใครค้นหาเจอก่อนคนนั้นชนะ” คำกล่าวจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เตือนให้สติกลับคืนมา เขามุ่งมั่นแก้ไขปัญหา โดยทบทวนความรู้ จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ พลิกฟื้นชีวิตโดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง และมุ่งเน้นการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษ ฐกิจพอเพียงตาม แนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “กำหนดราคาพืช-สัตว์ได้ แก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยไม่ใช้ปูนทุกชนิด พึ่งพาตนเอง 5 ด้าน ไม่ใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาเคมีในการทำการเกษตรเลย
- ภูมิปัญญาไทเหนือกว่าภูมิปัญญาชาวต่างชาติ
- พึ่งพาตนเอง 5 ด้าน ลดต้นทุนได้ถึง 85%
- หมดหนี้ มั่นคงระยะยาว และมีความสุข
ปี พ.ศ.2529 ทำกิจการไก่เนื้อส่งออก ใช้พื้นที่ในการประกอบอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อบนบ่อปลาเป็น บนพื้นที่ 160 ไร่ โดยเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอาชีพหลัก มีการลงทุน ค่าอาหาร ค่ายา ค่าพันธุ์ไก่ เป็นจำนวนมาก ส่วนการเลี้ยงปลาเป็นผลพลอยได้ โดยการใช้มูลไก่เป็นอาหารปลา
ปี 2534และ ปี 2538 เกิดอุทกภัยทำให้กิจการขาดทุน ถึง 2 ครั้ง มีหนี้สินมาก จึงกลับมาคิดทบทวนแล้ว พบว่าระบบประกันราคาไม่ถูกต้อง เนื่องจาก “วงจรความเสี่ยงยังคงอยู่ที่เกษตรกร” เพราะเมื่อเกิดความเสียหาย น้ำท่วม อาหารเน่าเสีย ไก่ป่วย ไก่ตาย ไก่ไม่มีคุณภาพ ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด แต่กำไรค่าอาหาร ค่ายา ค่าพันธุ์ไก่ อยู่ที่บริษัท เมื่อเห็นว่าการเลี้ยงไก่ต้องเสียค่าอาหารจำนวนมาก ไม่มีผลกำไร แต่การเลี้ยงปลาทำให้มีรายได้ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับราคาค่าอาหารเลี้ยงไก่ จึงตัดสินใจเลิกอาชีพเลี้ยงไก่ประกอบกับธนาคารระงับการให้กู้ยืมละมองเห็นว่าควรนำเสาไม้โรงเรือนมาขายเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพใหม่ โดยมีแนวความคิดจากอดีตที่ตนเองเคยอาศัยอยู่บริเวณทะเลสาบสงขลาซึ่งมีปลาจำนวนมากและตัวโตโดยไม่จำเป็นต้องกินอาหารเม็ด จึงทดลองใช้ฟางข้าว เศษหญ้าให้ปลากิน ปรากฏว่าได้ผลดีสามารถลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้มากและคิดว่าวิธีการดำเนินตามทุนนิยมไม่ใช่สิ่งถูกต้อง การตัดสินใจลุกขึ้นสู้ในครั้งนั้นได้แรงบันดาลใจจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อครั้งบวชเรียนเป็นลูกศิษย์ท่านที่วัดชลประทาน ทำให้ได้ข้อคิดหลายประการ เมื่อประสบภาวะน้ำท่วมมีหนี้สินมาก ท่านได้กล่าวห้กำลังใจว่า “ว่าวขึ้นสูงโดนลมโต้บ้าง…ธรรมดา”
จนกระทั่งปี 2539 เมื่อพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัชเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ทำให้เกิดประกายความคิดว่าตนเองกำลังปฏิบัติอยู่และเข้าใจว่า การพึ่งตนเองสำคัญที่สุดและตั้งใจดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป
เขาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรใหม่ จากที่เคยทำฟาร์มปศุสัตว์ทั้ง ปลา ไก่ และสุกรจนเป็นหนี้สิน 50ล้านบาทแต่เมื่อได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการเกษตรจากพ่อแม่มาเป็นแนวทางการเกษตรใหม่ ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินทั้งหมดได้โดยเชื่อว่าทางออกของปัญหาภาคเกษตรกรรมของไทย เกษตรกรต้องยึดมั่นในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการรักษาป่าไม้อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ไว้ให้ได้
กว่า ๒๐ ปีที่คนเหล่านี้น้อมนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติ พวกเขาต่างคน ต่างทำ ต่างคน ต่างคิด ลองผิด ลองถูก และเมื่อพวกเขามาเจอกัน เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงจึงเริ่มถักทอขึ้นด้วยความศรัทธาหนึ ่งเดียว คือ ศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และมุ่งมั่นที่จะเดินตามศาสตร์ของพระราชา แม้ใครจะว่าบ้าก็ยอม
๒๐ ปีผ่านไปแล้ว พวกเขาพร้อมประกาศชัยชนะให้คนไทยทุกคนได้รับรู้ และพร้อมเป็นต้นแบบ ฅ.ฅน ต้นแบบ คนเหล่านี้มาจากต่างที่ ต่างถิ่น ต่างฐานะ ต่างอาชีพ แต่พวกเขามีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ต่างเคยประสบวิกฤตชีวิตและรอดผ่านมาได้ด้วยการเดินตามศาสตร์พ ระราชา หลายคนเริ่มต้นจากหนี้สินนับ ๑๐ ล้าน ไปจนถึง ๑๐๐ ล้านบาท หลายคนเคยคิดจะฆ่าตัวตาย หลายคนหมดหวังกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทำนา ที่นับวันแต่จะสร้างหนี้สินและปัญหาสุขภาพ
ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย คือ “วิกฤต” ที่แต่ละคนเผชิญมาด้วยตนเอง และวันนี้พวกเขาพร้อมบอกกล่าวด้วยเชื่อมั่นว่า “หนึ่งตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าล้านคำสอน”
มาร์ติน วีลเลอร์ ฝรั่งผู้ยิ่งใหญ่ หัวใจพอเพียง
เรื่องของฝรั่งคนหนึ่งที่คนไทยเรียกเขาว่าฝรั่งขี้นก ชื่อ Martin Wheeler เป็นชาวอังกฤษ เมือง Blackpool ปริญญาตรีเกียรตินิยม ภาษาละติน จาก London University
ผมเป็นชาวอังกฤษ
เกิดในครอบครัวที่ ฐานะดีพอสมควร พ่อจบปริญญาเอก เป็นผู้จัดการบริษัทเกี่ยวกับสารเคมี ยาฆ่าแมลง มีลูกน้อง ๒๐,๐๐๐กว่าคน แม่จบปริญญาตรี เป็นครูสอนเปียโนกับไวโอลิน ผมจบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่งภาษาละตินครั้งแรกเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปีที่ ๓ ผมย้ายไปเรียน มหาวิทยาลัยลอนดอน และจบที่นั่นผมไม่ชอบเคมบริดจ์ เพราะเป็น แบบโบราณ อังกฤษเป็นประเทศเก่าแก่มาก สมัยโบราณเป็นระบบศักดินา มีขุนนางและ ชาวบ้านเป็นขี้ข้า ทุกวันนี้แม้ยกเลิกระบบนั้นแล้ว แต่ที่เคมบริดจ์ยังเจอวัฒนธรรม แบบขุนนาง เป็นสังคมเล็กๆ ผ่านมา ๒๐๐-๓๐๐ ปีแล้ว แต่ไม่รับรู้อะไร ไม่เข้าใจชาวบ้าน เขาคิดแต่เรื่อง สังคมเล็กๆ ของเขาในกลุ่มคนชั้นสูง เป็นพวกหอคอยงาช้าง ที่ผมเรียนได้คะแนนดี เพราะพ่อแม่ของผม บังคับให้เรียนหนังสือ ส่งเสริมให้เรียนตั้งแต่อายุ ๒ ขวบครึ่ง สอบไปเรื่อยๆ เพิ่มไอ.คิว. ให้สูงที่สุด เท่าที่จะทำได้ ผมเรียนสูงจนได้เกียรตินิยม เพราะพ่อแม่มีเงินช่วย ไม่เกี่ยวกับความฉลาดเฉพาะตัว
เกิดในครอบครัวที่ ฐานะดีพอสมควร พ่อจบปริญญาเอก เป็นผู้จัดการบริษัทเกี่ยวกับสารเคมี ยาฆ่าแมลง มีลูกน้อง ๒๐,๐๐๐กว่าคน แม่จบปริญญาตรี เป็นครูสอนเปียโนกับไวโอลิน ผมจบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับหนึ่งภาษาละตินครั้งแรกเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปีที่ ๓ ผมย้ายไปเรียน มหาวิทยาลัยลอนดอน และจบที่นั่นผมไม่ชอบเคมบริดจ์ เพราะเป็น แบบโบราณ อังกฤษเป็นประเทศเก่าแก่มาก สมัยโบราณเป็นระบบศักดินา มีขุนนางและ ชาวบ้านเป็นขี้ข้า ทุกวันนี้แม้ยกเลิกระบบนั้นแล้ว แต่ที่เคมบริดจ์ยังเจอวัฒนธรรม แบบขุนนาง เป็นสังคมเล็กๆ ผ่านมา ๒๐๐-๓๐๐ ปีแล้ว แต่ไม่รับรู้อะไร ไม่เข้าใจชาวบ้าน เขาคิดแต่เรื่อง สังคมเล็กๆ ของเขาในกลุ่มคนชั้นสูง เป็นพวกหอคอยงาช้าง ที่ผมเรียนได้คะแนนดี เพราะพ่อแม่ของผม บังคับให้เรียนหนังสือ ส่งเสริมให้เรียนตั้งแต่อายุ ๒ ขวบครึ่ง สอบไปเรื่อยๆ เพิ่มไอ.คิว. ให้สูงที่สุด เท่าที่จะทำได้ ผมเรียนสูงจนได้เกียรตินิยม เพราะพ่อแม่มีเงินช่วย ไม่เกี่ยวกับความฉลาดเฉพาะตัว
ปฏิวัติค่านิยมเก่า
ผมไม่ค่อยสนใจเรื่อง เงิน ไม่อยากมีรถยนต์ ไม่อยากมีบ้านใหญ่ อยากมีบ้านเล็กๆ อยากมี ครอบครัวเล็กๆ ที่มีความสุข ไม่สนใจเรื่องวัตถุ ผมอยากอยู่แบบง่ายๆเมื่อก่อน ไม่รู้เขาเรียกว่าอะไร แต่ตอนนี้รู้ว่า เขาเรียกมักน้อย สันโดษ ที่อังกฤษเขาว่าผมบ้า เป็นเด็กนิสัยเสีย เพราะพ่อแม่ส่งให้เรียนหนังสือ แต่ไม่เอาความรู้ไปหาเงิน เขาหาว่า เด็กที่ไม่คิดทำงานนั้น นิสัยเสีย หลังจากเรียนจบแล้ว ผมก็เอาปริญญาให้พ่อแม่ตามที่ท่านอยากได้ แล้วผมก็ไปทำงานก่อสร้างแบกอิฐแบกปูนอยู่ ๑๐ ปี ช่วงนั้นชาวบ้านบอกว่า ผมบ้าแน่ครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมอยากเรียนรู้ชีวิต อยากรู้จักตัวเอง ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด มีความอดทนมั้ย ทำในสิ่งที่เราไม่น่าจะทำได้มั้ย ท้าทายตัวเองบ้าง อยากผ่านชีวิตที่ลำบากบ้าง ผมอยู่ในสังคมของคนมีเงิน เขาจะพูดถึงแต่เรื่องเงิน คุณมีรถยี่ห้ออะไรบ้าง? มี่กี่คัน? คุณมีบ้านใหญ่ขนาดไหน? ลูกของคุณเรียนที่ไหน? เอาลูกมาแข่งขันกัน จบจากที่ไหนบ้าง? จบจากเคมบริดจ์ดีกว่าจบจากมหาวิทยาลัยลอนดอน แต่ผมกลับคิดว่า …. ชีวิตน่าจะมีอะไร มากกว่านั้น ช่วงนั้นผมไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร แต่ที่รู้แน่ๆ คือไม่ใช่เงิน ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ปริญญา ต้องมีสิ่งอื่น ซึ่งผมไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน ผมก็เลยมาลองแบกอิฐ แบกของหนักไว้ก่อน เดินแบกอิฐไปมา วันละสาม-สี่พันเที่ยว มันอิสระ เรามีเวลาคิด ได้รู้จักคนอื่น และได้สร้างความเข้มแข็ง ให้ร่างกาย แล้วจิตใจเราก็เข้มแข็งขึ้นด้วย ชาวบ้านธรรมดาที่อังกฤษนั้น จริงๆ เขาลำบากกว่าคนไทยมาก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผมได้เห็น ชีวิตของชาวบ้านที่อังกฤษแย่มาก คนที่นั่น ๖๐% ไม่มีบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา จะไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน ต้องไปเช่าบ้านจากเจ้านายตลอดชีวิต ๙๘%ไม่มีใครมีที่ทำกิน แล้วก็อยู่ในเมือง เป็นขี้ข้าเขาหมด แม้แต่เป็นผู้จัดการก็เป็นขี้ข้าด้วย เพราะไม่มีใครพึ่งตนเอง ไม่มีใครมีที่ทำกิน จะไปทำอะไร ช่วยตัวเองก็ไม่ได้ จะไปสุขอะไรก็ไม่ได้ ต้องไปหาเงิน ชีวิตอยู่กับเงินอย่างเดียว เงินเยอะ ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้เงินน้อยคุณภาพชีวิตก็ไม่ค่อยสูงเท่าไหร่
ผมไม่ค่อยสนใจเรื่อง เงิน ไม่อยากมีรถยนต์ ไม่อยากมีบ้านใหญ่ อยากมีบ้านเล็กๆ อยากมี ครอบครัวเล็กๆ ที่มีความสุข ไม่สนใจเรื่องวัตถุ ผมอยากอยู่แบบง่ายๆเมื่อก่อน ไม่รู้เขาเรียกว่าอะไร แต่ตอนนี้รู้ว่า เขาเรียกมักน้อย สันโดษ ที่อังกฤษเขาว่าผมบ้า เป็นเด็กนิสัยเสีย เพราะพ่อแม่ส่งให้เรียนหนังสือ แต่ไม่เอาความรู้ไปหาเงิน เขาหาว่า เด็กที่ไม่คิดทำงานนั้น นิสัยเสีย หลังจากเรียนจบแล้ว ผมก็เอาปริญญาให้พ่อแม่ตามที่ท่านอยากได้ แล้วผมก็ไปทำงานก่อสร้างแบกอิฐแบกปูนอยู่ ๑๐ ปี ช่วงนั้นชาวบ้านบอกว่า ผมบ้าแน่ครับ แต่เป็นเรื่องที่ผมอยากเรียนรู้ชีวิต อยากรู้จักตัวเอง ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด มีความอดทนมั้ย ทำในสิ่งที่เราไม่น่าจะทำได้มั้ย ท้าทายตัวเองบ้าง อยากผ่านชีวิตที่ลำบากบ้าง ผมอยู่ในสังคมของคนมีเงิน เขาจะพูดถึงแต่เรื่องเงิน คุณมีรถยี่ห้ออะไรบ้าง? มี่กี่คัน? คุณมีบ้านใหญ่ขนาดไหน? ลูกของคุณเรียนที่ไหน? เอาลูกมาแข่งขันกัน จบจากที่ไหนบ้าง? จบจากเคมบริดจ์ดีกว่าจบจากมหาวิทยาลัยลอนดอน แต่ผมกลับคิดว่า …. ชีวิตน่าจะมีอะไร มากกว่านั้น ช่วงนั้นผมไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร แต่ที่รู้แน่ๆ คือไม่ใช่เงิน ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่ปริญญา ต้องมีสิ่งอื่น ซึ่งผมไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหน ผมก็เลยมาลองแบกอิฐ แบกของหนักไว้ก่อน เดินแบกอิฐไปมา วันละสาม-สี่พันเที่ยว มันอิสระ เรามีเวลาคิด ได้รู้จักคนอื่น และได้สร้างความเข้มแข็ง ให้ร่างกาย แล้วจิตใจเราก็เข้มแข็งขึ้นด้วย ชาวบ้านธรรมดาที่อังกฤษนั้น จริงๆ เขาลำบากกว่าคนไทยมาก เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผมได้เห็น ชีวิตของชาวบ้านที่อังกฤษแย่มาก คนที่นั่น ๖๐% ไม่มีบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา จะไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน ต้องไปเช่าบ้านจากเจ้านายตลอดชีวิต ๙๘%ไม่มีใครมีที่ทำกิน แล้วก็อยู่ในเมือง เป็นขี้ข้าเขาหมด แม้แต่เป็นผู้จัดการก็เป็นขี้ข้าด้วย เพราะไม่มีใครพึ่งตนเอง ไม่มีใครมีที่ทำกิน จะไปทำอะไร ช่วยตัวเองก็ไม่ได้ จะไปสุขอะไรก็ไม่ได้ ต้องไปหาเงิน ชีวิตอยู่กับเงินอย่างเดียว เงินเยอะ ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้เงินน้อยคุณภาพชีวิตก็ไม่ค่อยสูงเท่าไหร่
พ่อแม่และผม
ถามว่าชีวิตของพ่อ มีความสุขมั้ย? ผมคิดว่าไม่ ผมคิดว่าพ่ออยากได้บางสิ่งบางอย่าง เขาได้เงินเดือน เยอะมาก ได้รับบำเหน็จบำนาญ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชน มีตำแหน่ง มีเกียรติยศอะไรอีกเยอะแยะ แต่ผมคิดว่าพ่อไม่มีความสุข เพราะว่าวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ไปทำงานที่โรงงาน ตกเย็นไปประชุมอีก กลับบ้านสามทุ่มสี่ทุ่ม ไม่ได้เจอเมียเจอลูก วันเสาร์อาทิตย์พ่อก็ปวดหัว อยากพักผ่อน พ่ออยากอยู่คนเดียว ไม่ให้ใครรบกวน พ่อมีเมีย และลูกสามคน แต่พ่อไม่ค่อยได้เห็นลูกเห็นเมีย สมัยที่ผมอายุสิบสามขวบ ผมไม่ได้คุยกับพ่อ แม้แต่คำเดียวเกือบปีครึ่ง เห็นเมื่อไหร่ก็เจอพ่อปวดหัวตลอด คิดหนัก อาชีพของพ่อ ต้องใช้สมองมาก ผมว่ามันเป็นกรรมพันธุ์ด้วย ผมก็ปวดหัวบ่อยเหมือนกัน (หัวเราะ) ชอบคิดมาก ตอนนี้หายแล้ว แม่เข้าใจผม แต่ไม่เห็นด้วยที่ผมมาเมืองไทย แม่เสียชีวิต ผมได้มรดกนิดๆ หน่อยๆ มีเวลาที่จะไปเที่ยว ผมเคยวางแผนไว้ในใจว่าจะเที่ยว ๑ ปี จะไปในประเทศ ที่ผมไม่เคยไปมาก่อน เช่น ไทย ลาว เขมร พม่า มาเลย์ เวียดนาม อินโด ออสเตรเลีย คิดว่าจะไปออสเตรเลียเพราะเป็นประเทศเปิด ไม่ค่อยมีกฎระเบียบ เหมือนอังกฤษ แต่ก็ยังไม่ได้ไปตามแผนที่วางไว้ ประเทศแรกที่ผมมาคือประเทศไทย
ถามว่าชีวิตของพ่อ มีความสุขมั้ย? ผมคิดว่าไม่ ผมคิดว่าพ่ออยากได้บางสิ่งบางอย่าง เขาได้เงินเดือน เยอะมาก ได้รับบำเหน็จบำนาญ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในชุมชน มีตำแหน่ง มีเกียรติยศอะไรอีกเยอะแยะ แต่ผมคิดว่าพ่อไม่มีความสุข เพราะว่าวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ไปทำงานที่โรงงาน ตกเย็นไปประชุมอีก กลับบ้านสามทุ่มสี่ทุ่ม ไม่ได้เจอเมียเจอลูก วันเสาร์อาทิตย์พ่อก็ปวดหัว อยากพักผ่อน พ่ออยากอยู่คนเดียว ไม่ให้ใครรบกวน พ่อมีเมีย และลูกสามคน แต่พ่อไม่ค่อยได้เห็นลูกเห็นเมีย สมัยที่ผมอายุสิบสามขวบ ผมไม่ได้คุยกับพ่อ แม้แต่คำเดียวเกือบปีครึ่ง เห็นเมื่อไหร่ก็เจอพ่อปวดหัวตลอด คิดหนัก อาชีพของพ่อ ต้องใช้สมองมาก ผมว่ามันเป็นกรรมพันธุ์ด้วย ผมก็ปวดหัวบ่อยเหมือนกัน (หัวเราะ) ชอบคิดมาก ตอนนี้หายแล้ว แม่เข้าใจผม แต่ไม่เห็นด้วยที่ผมมาเมืองไทย แม่เสียชีวิต ผมได้มรดกนิดๆ หน่อยๆ มีเวลาที่จะไปเที่ยว ผมเคยวางแผนไว้ในใจว่าจะเที่ยว ๑ ปี จะไปในประเทศ ที่ผมไม่เคยไปมาก่อน เช่น ไทย ลาว เขมร พม่า มาเลย์ เวียดนาม อินโด ออสเตรเลีย คิดว่าจะไปออสเตรเลียเพราะเป็นประเทศเปิด ไม่ค่อยมีกฎระเบียบ เหมือนอังกฤษ แต่ก็ยังไม่ได้ไปตามแผนที่วางไว้ ประเทศแรกที่ผมมาคือประเทศไทย
ผมไม่ใช่ครูฝรั่ง
สมัยก่อนผมนิสัย เสีย ชอบกินเหล้า ชอบเที่ยว ชอบสนุก เงินที่ผมเก็บไว้ ๑ ปี ภายใน ๒ เดือนใช้หมดเลย ไม่มีเงินกลับบ้าน ผมอยู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีเงิน แม้แต่บาทเดียว ไปหางานทำ อาชีพอย่างเดียวที่เราทำได้ คือเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ จริงๆแล้ว ผมไม่ได้เป็นครูหรอก ผมสอนไม่เป็น แต่คนไทยเห็นฝรั่ง จะบอกว่าฝรั่งทุกคน เป็นครูสอนภาษา ซึ่งมันไม่จริง ฝรั่งส่วนมากไม่ได้เป็นครู ที่กรุงเทพฯ เขาจ้างผมให้เป็นครู เอาเสื้อผ้าดีๆ เนคไทดีๆให้ใส่ เขาบอกว่า คุณเป็นครูนะ แล้วเขาก็ส่งผมเข้าห้องเรียนเลย ความจริงฝรั่งที่เขาเรียกครูนั้น ไม่มีใครเคยสอนหนังสือ แม้แต่คนเดียว และบางครั้ง ก็ไม่ใช่คนอังกฤษด้วย มีคนหนึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษผมฟังไม่รู้เรื่อง แม้แต่คำเดียว คนไทยก็แปลกดีเหมือนกัน เขาให้เงินเดือนผมเดือนละ ๓ หมื่นบาท ไปนั่งเฉยๆ ผมก็ละอายใจ ไม่อยากรับ ผมคิดมาก ปวดหัวทั้งวันทั้งคืน เพราะถ้าเราทำงานอะไรในชีวิต เราต้องได้ผล สมมุติมีคนมาจ้างเรา ๑๐๐ บาท แบกอิฐ ผมจะรับแน่เพราะว่า ผมแบกอิฐแผ่นนั้น จากโน่นไปที่นู่น ผมทำได้แน่ครับ แล้วผมก็จะเอาเงินของคุณไป แต่เวลาผมเป็นครูสอนภาษา มันไม่ได้ผลหรอก ผมสอนไม่เป็นเอาเงินให้ผมเฉยๆ ผมก็รู้สึกว่า ไม่น่าจะเอา ผมไม่ได้ทำ ประโยชน์อะไร คุ้มค่าเงินนะ
สมัยก่อนผมนิสัย เสีย ชอบกินเหล้า ชอบเที่ยว ชอบสนุก เงินที่ผมเก็บไว้ ๑ ปี ภายใน ๒ เดือนใช้หมดเลย ไม่มีเงินกลับบ้าน ผมอยู่ประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ผมอยู่กรุงเทพฯ ไม่มีเงิน แม้แต่บาทเดียว ไปหางานทำ อาชีพอย่างเดียวที่เราทำได้ คือเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ จริงๆแล้ว ผมไม่ได้เป็นครูหรอก ผมสอนไม่เป็น แต่คนไทยเห็นฝรั่ง จะบอกว่าฝรั่งทุกคน เป็นครูสอนภาษา ซึ่งมันไม่จริง ฝรั่งส่วนมากไม่ได้เป็นครู ที่กรุงเทพฯ เขาจ้างผมให้เป็นครู เอาเสื้อผ้าดีๆ เนคไทดีๆให้ใส่ เขาบอกว่า คุณเป็นครูนะ แล้วเขาก็ส่งผมเข้าห้องเรียนเลย ความจริงฝรั่งที่เขาเรียกครูนั้น ไม่มีใครเคยสอนหนังสือ แม้แต่คนเดียว และบางครั้ง ก็ไม่ใช่คนอังกฤษด้วย มีคนหนึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส พูดภาษาอังกฤษผมฟังไม่รู้เรื่อง แม้แต่คำเดียว คนไทยก็แปลกดีเหมือนกัน เขาให้เงินเดือนผมเดือนละ ๓ หมื่นบาท ไปนั่งเฉยๆ ผมก็ละอายใจ ไม่อยากรับ ผมคิดมาก ปวดหัวทั้งวันทั้งคืน เพราะถ้าเราทำงานอะไรในชีวิต เราต้องได้ผล สมมุติมีคนมาจ้างเรา ๑๐๐ บาท แบกอิฐ ผมจะรับแน่เพราะว่า ผมแบกอิฐแผ่นนั้น จากโน่นไปที่นู่น ผมทำได้แน่ครับ แล้วผมก็จะเอาเงินของคุณไป แต่เวลาผมเป็นครูสอนภาษา มันไม่ได้ผลหรอก ผมสอนไม่เป็นเอาเงินให้ผมเฉยๆ ผมก็รู้สึกว่า ไม่น่าจะเอา ผมไม่ได้ทำ ประโยชน์อะไร คุ้มค่าเงินนะ
เงินไม่ทำให้ผมมีความสุข
ผมมีอุดมการณ์เล็กๆ ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ๑. ถ้าเราทำงานอะไร ต้องทำในสิ่งที่เรามีความสุข ๒.จะไม่ทำงานที่ต้องผูกเนคไท ๓.จะไม่มีกระเป๋าเอกสารเพราะว่าเหมือนสังคมของพ่อแม่ผม เขาจะทำงานแบบนั้น ทุกคนมีเสื้อนอก มีรถยนต์ มีเอกสาร แต่เขาไม่ค่อยมีความสุขหรอก ผมเอาสิ่งนี้ มาเป็นสัญลักษณ์ แห่งการทำงานที่ไม่มีความสุข มีช่วงเดียวเท่านั้นที่ผมทรยศต่อชีวิตตัวเองคือ ช่วงที่ผมเป็นครูอยู่ที่กรุงเทพฯ ผมต้องผูกเนคไท ผมทำในสิ่งที่ผมเกลียดที่สุดเลย เพื่อเงินอย่างเดียว ทำอยู่ประมาณ ๑๑ เดือน ชวิตไม่มีความสุข เหมือนอยู่ที่อังกฤษ คือทำงานอะไรก็ได้ ขอให้มีเงิน แต่ไม่มีความสุข แล้วก็เอาเงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องไปเที่ยว ไปกินเหล้า ไปสูบบุหรี่ ยาเสพติดทุกชนิดผมเอาหมด ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แม้แต่อยู่กรุงเทพฯ ก็ยังทำอยู่ ถึงได้เงินเยอะ แต่ไม่รู้ว่า จะเอาไปทำอะไรเพราะเงินไม่ช่วยให้เรามีความสุข
ผมมีอุดมการณ์เล็กๆ ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ๑. ถ้าเราทำงานอะไร ต้องทำในสิ่งที่เรามีความสุข ๒.จะไม่ทำงานที่ต้องผูกเนคไท ๓.จะไม่มีกระเป๋าเอกสารเพราะว่าเหมือนสังคมของพ่อแม่ผม เขาจะทำงานแบบนั้น ทุกคนมีเสื้อนอก มีรถยนต์ มีเอกสาร แต่เขาไม่ค่อยมีความสุขหรอก ผมเอาสิ่งนี้ มาเป็นสัญลักษณ์ แห่งการทำงานที่ไม่มีความสุข มีช่วงเดียวเท่านั้นที่ผมทรยศต่อชีวิตตัวเองคือ ช่วงที่ผมเป็นครูอยู่ที่กรุงเทพฯ ผมต้องผูกเนคไท ผมทำในสิ่งที่ผมเกลียดที่สุดเลย เพื่อเงินอย่างเดียว ทำอยู่ประมาณ ๑๑ เดือน ชวิตไม่มีความสุข เหมือนอยู่ที่อังกฤษ คือทำงานอะไรก็ได้ ขอให้มีเงิน แต่ไม่มีความสุข แล้วก็เอาเงินไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องไปเที่ยว ไปกินเหล้า ไปสูบบุหรี่ ยาเสพติดทุกชนิดผมเอาหมด ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แม้แต่อยู่กรุงเทพฯ ก็ยังทำอยู่ ถึงได้เงินเยอะ แต่ไม่รู้ว่า จะเอาไปทำอะไรเพราะเงินไม่ช่วยให้เรามีความสุข
หันเหชีวิตสู่แนวทางที่วาดหวังไว้
ผมเจอภรรยา เธอมาจากจังหวัดขอนแก่นอยู่กรุงเทพฯ ไม่นานก็มีลูก ผมเริ่มคิดหนัก แต่ก่อน อยู่คนเดียวไม่มีปัญหา มีความสุขหรือไม่มีก็คนเดียว ไม่ยากหรอก เมื่อมีเมียมีลูก มันต้อง รับผิดชอบผู้อื่นด้วยจะไปนั่งกินเหล้าเฉยๆ ไม่ได้หรอก คิดว่าทำอย่างไร ให้เมียกับลูกอยู่ได้ ผมรู้แน่ๆ ถ้าผมอยู่ในสังคมเมือง และทำงานแบบนี้ ผมจะเป็นคนแย่มาก จะกินเหล้า สูบบุหรี่ ติดยา เที่ยวอย่างเดียว จึงตัดสินใจตัดตัวเองออกจากสังคมเมืองไปอยู่บ้านนอก แฟนผม มาจากหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดขอนแก่น ช่วงปีใหม่ผมไปเที่ยวบ้านของแม่ยายเห็นว่า เป็นธรรมชาติดี ต้องเข้าใจว่าคนอังกฤษอยู่บ้านนอกไม่ได้เพราะชนบทมีพื้นที่นิดเดียว พวกขุนนางยึดหมด คนยากจน จึงอยู่ชนบทไม่ได้ ต้องไปอยู่ในเมืองที่สกปรก แออัด คนอังกฤษที่ยังรวยไม่ถึงขั้น เช่นพ่อของผม มีเงินเยอะ แต่ก็ยังรวยไม่ถึงขั้น เพราะยังอยู่ในเมือง วัดจากคนที่อยู่ กลางเมืองใหญ่ๆ จะเป็นคนจนที่สุด ที่อยู่ชานเมือง จะเป็นพวกครู ข้าราชการ อะไรแบบนั้น เป็นผู้จัดการ ก็ยังอยู่ในเมือง ส่วนคนที่จะได้อยู่บ้านนอก จะต้องเป็นคนรวยถึงขั้นจริงๆ เป็นพวกขุนนางใหญ่โต มันเป็นเรื่องแปลก ผมมาอยู่ที่ขอนแก่น เห็นแต่ละคน มีที่ดินเยอะมาก ชาวบ้านธรรมดา คนเดียวมีถึง ๕๐ ไร่ ๒๐๐ กว่าไร่ก็มี พ่อแม่ผมมีแค่ ครึ่งไร่เท่านั้นเอง แต่อยู่บ้านนอกที่นี่ โอ้โฮ..มีเยอะมาก สะอาดด้วย อากาศก็ดี ตอนแรกได้กลิ่น ผมก็ว่ากลิ่นอะไร อ๋อ มันกลิ่นธรรมชาติ ผมไม่เคยดมมาก่อน โอ้สุดยอดเลยบ้านนอก คนอื่นว่าฝรั่งมันบ้า เพราะเขาไม่คิดว่า ทำไมฝรั่งอยากไปอยู่บ้านนอก เขาคิดว่าฝรั่งมีแต่คนรวย ฝรั่งไม่มีคนยากจน เขาไม่รู้จริงๆ ว่าฝรั่งส่วนมากลำบาก บ้านก็ไม่มี ที่ดินก็ไม่มี เป็นขี้ข้าเขาหมด ลูกก็ไม่มีอนาคต
ผมเจอภรรยา เธอมาจากจังหวัดขอนแก่นอยู่กรุงเทพฯ ไม่นานก็มีลูก ผมเริ่มคิดหนัก แต่ก่อน อยู่คนเดียวไม่มีปัญหา มีความสุขหรือไม่มีก็คนเดียว ไม่ยากหรอก เมื่อมีเมียมีลูก มันต้อง รับผิดชอบผู้อื่นด้วยจะไปนั่งกินเหล้าเฉยๆ ไม่ได้หรอก คิดว่าทำอย่างไร ให้เมียกับลูกอยู่ได้ ผมรู้แน่ๆ ถ้าผมอยู่ในสังคมเมือง และทำงานแบบนี้ ผมจะเป็นคนแย่มาก จะกินเหล้า สูบบุหรี่ ติดยา เที่ยวอย่างเดียว จึงตัดสินใจตัดตัวเองออกจากสังคมเมืองไปอยู่บ้านนอก แฟนผม มาจากหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดขอนแก่น ช่วงปีใหม่ผมไปเที่ยวบ้านของแม่ยายเห็นว่า เป็นธรรมชาติดี ต้องเข้าใจว่าคนอังกฤษอยู่บ้านนอกไม่ได้เพราะชนบทมีพื้นที่นิดเดียว พวกขุนนางยึดหมด คนยากจน จึงอยู่ชนบทไม่ได้ ต้องไปอยู่ในเมืองที่สกปรก แออัด คนอังกฤษที่ยังรวยไม่ถึงขั้น เช่นพ่อของผม มีเงินเยอะ แต่ก็ยังรวยไม่ถึงขั้น เพราะยังอยู่ในเมือง วัดจากคนที่อยู่ กลางเมืองใหญ่ๆ จะเป็นคนจนที่สุด ที่อยู่ชานเมือง จะเป็นพวกครู ข้าราชการ อะไรแบบนั้น เป็นผู้จัดการ ก็ยังอยู่ในเมือง ส่วนคนที่จะได้อยู่บ้านนอก จะต้องเป็นคนรวยถึงขั้นจริงๆ เป็นพวกขุนนางใหญ่โต มันเป็นเรื่องแปลก ผมมาอยู่ที่ขอนแก่น เห็นแต่ละคน มีที่ดินเยอะมาก ชาวบ้านธรรมดา คนเดียวมีถึง ๕๐ ไร่ ๒๐๐ กว่าไร่ก็มี พ่อแม่ผมมีแค่ ครึ่งไร่เท่านั้นเอง แต่อยู่บ้านนอกที่นี่ โอ้โฮ..มีเยอะมาก สะอาดด้วย อากาศก็ดี ตอนแรกได้กลิ่น ผมก็ว่ากลิ่นอะไร อ๋อ มันกลิ่นธรรมชาติ ผมไม่เคยดมมาก่อน โอ้สุดยอดเลยบ้านนอก คนอื่นว่าฝรั่งมันบ้า เพราะเขาไม่คิดว่า ทำไมฝรั่งอยากไปอยู่บ้านนอก เขาคิดว่าฝรั่งมีแต่คนรวย ฝรั่งไม่มีคนยากจน เขาไม่รู้จริงๆ ว่าฝรั่งส่วนมากลำบาก บ้านก็ไม่มี ที่ดินก็ไม่มี เป็นขี้ข้าเขาหมด ลูกก็ไม่มีอนาคต
ปัญหาของระบบทุนนิยมคือเรื่องเงิน
เงินถูกจำกัดเป็น ก้อนเล็กๆ คนรวยกวาดเงินไปเยอะ จนเหลือนิดเดียว มันแบ่งกันไม่ลงตัว ทำให้มีคนจนเยอะ ถ้ามีคนรวย ๑ คน จะมีคนจน เป็นร้อยเลย ระบบทุนนิยมจึงอยู่ได้ ปัญหาของคนยากจนคือ ทำยังไง จะมีชีวิตที่ดี เราจะหลุดพ้น จากความยากจนได้ ต้องหาสิ่งที่ไม่ใช่เงิน อันนี้เป็นจุดเด่นของประเทศไทย ชาวบ้านธรรมดา อาจจะไม่มีเงินเยอะ แต่เขาสามารถจะหาหลายสิ่งหลายอย่าง ที่มีคุณค่า มากกว่าเงินตั้งเยอะ
เงินถูกจำกัดเป็น ก้อนเล็กๆ คนรวยกวาดเงินไปเยอะ จนเหลือนิดเดียว มันแบ่งกันไม่ลงตัว ทำให้มีคนจนเยอะ ถ้ามีคนรวย ๑ คน จะมีคนจน เป็นร้อยเลย ระบบทุนนิยมจึงอยู่ได้ ปัญหาของคนยากจนคือ ทำยังไง จะมีชีวิตที่ดี เราจะหลุดพ้น จากความยากจนได้ ต้องหาสิ่งที่ไม่ใช่เงิน อันนี้เป็นจุดเด่นของประเทศไทย ชาวบ้านธรรมดา อาจจะไม่มีเงินเยอะ แต่เขาสามารถจะหาหลายสิ่งหลายอย่าง ที่มีคุณค่า มากกว่าเงินตั้งเยอะ
แค่อยากหาคำตอบให้ชีวิต
ผมตกลงกับแฟนว่าเราจะไปอยู่บ้านนอก ผมจะไม่รับจ้างสอนภาษาอังกฤษ เขาก็ตกลง แต่ปัญหาคือ ผมทำเกษตรไม่เป็น ช่วงแรกก็ลำบาก ต้องกลับมาแบกอิฐเหมือนเดิม วันละร้อยยี่สิบบาท โอ้โฮ…เหนื่อย เพราะที่อังกฤษ ถึงจะแดดร้อน แต่อากาศเย็น เดินไม่ได้ ต้องวิ่ง ก็อุ่นได้ แต่ขอนแก่นช่วงนั้น เป็นเดือน ๔ อากาศร้อนมาก ๔๐ กว่าองศา บางครั้ง ผมเป็นลม เขาเอาน้ำมาสาด โอ๊ย.! ฝรั่งมันบ้า ทำไม ไม่กลับบ้าน คิดผิดหรือเปล่า ทำไมต้อง มาลำบากขนาดนี้ เขาคิดว่า ผมเป็นฆาตกร ไปฆ่าคนที่อังกฤษ แล้วกลับบ้านไม่ได้ หนีคดีมา ความจริงไม่ใช่ ผมก็แค่อยากหาคำตอบในชีวิต บางเรื่องเท่านั้น อยากหาความสุข ที่เป็นแบบ ยั่งยืนสักหน่อย บางครั้งก็คิดหนีไปที่อื่นเหมือนกัน แต่ผมไม่รู้ว่า ถ้าอยู่ที่นี่ไม่ได้จะไปอยู่ที่ไหน คิดว่า เราต้องหาคำตอบให้ได้ ปัญหาอาจจะอยู่ที่ตัวของผมเอง แต่ในภาพรวมที่นี่ดี สิ่งแวดล้อมดี สะอาด ถ้าเรามีลูก เราอยากให้ลูกของเราอยู่ในที่สะอาด อาหารธรรมชาติฟรีๆ ก็มีเยอะมาก ในภาคอีสาน เห็ดแดง หน่อไม้ ไข่มดแดง ดอกกระเจียว ผักอีหรอก แมงคับแมงคาม ขี้กะปอมเยอะ แต่บางคนก็ไม่กินนะ บางคนก็กิน ซึ่งมันดีมากเพราะว่า
๑.สะอาด อาหารธรรมชาติ ไม่มีใครไปใส่ปุ๋ยเคมี
๒.ไม่ได้ซื้อ ไม่ได้ใช้เงิน ขอให้ขยันเดินไปเก็บ
สมัยก่อน ที่อังกฤษ ผมจะเดินแบกอิฐทั้งวัน เมื่อได้เงินแล้ว ก็เอาเงินเกือบทั้งหมดไปซื้ออาหารในร้าน ฝรั่งส่วนมาก ทำงานหนักทุกวัน แต่เงินที่เขาได้ มันเพียงพอที่จะซื้ออาหารกินเท่านั้น ไม่มีเงินเหลือ ฝากธนาคาร
ผมตกลงกับแฟนว่าเราจะไปอยู่บ้านนอก ผมจะไม่รับจ้างสอนภาษาอังกฤษ เขาก็ตกลง แต่ปัญหาคือ ผมทำเกษตรไม่เป็น ช่วงแรกก็ลำบาก ต้องกลับมาแบกอิฐเหมือนเดิม วันละร้อยยี่สิบบาท โอ้โฮ…เหนื่อย เพราะที่อังกฤษ ถึงจะแดดร้อน แต่อากาศเย็น เดินไม่ได้ ต้องวิ่ง ก็อุ่นได้ แต่ขอนแก่นช่วงนั้น เป็นเดือน ๔ อากาศร้อนมาก ๔๐ กว่าองศา บางครั้ง ผมเป็นลม เขาเอาน้ำมาสาด โอ๊ย.! ฝรั่งมันบ้า ทำไม ไม่กลับบ้าน คิดผิดหรือเปล่า ทำไมต้อง มาลำบากขนาดนี้ เขาคิดว่า ผมเป็นฆาตกร ไปฆ่าคนที่อังกฤษ แล้วกลับบ้านไม่ได้ หนีคดีมา ความจริงไม่ใช่ ผมก็แค่อยากหาคำตอบในชีวิต บางเรื่องเท่านั้น อยากหาความสุข ที่เป็นแบบ ยั่งยืนสักหน่อย บางครั้งก็คิดหนีไปที่อื่นเหมือนกัน แต่ผมไม่รู้ว่า ถ้าอยู่ที่นี่ไม่ได้จะไปอยู่ที่ไหน คิดว่า เราต้องหาคำตอบให้ได้ ปัญหาอาจจะอยู่ที่ตัวของผมเอง แต่ในภาพรวมที่นี่ดี สิ่งแวดล้อมดี สะอาด ถ้าเรามีลูก เราอยากให้ลูกของเราอยู่ในที่สะอาด อาหารธรรมชาติฟรีๆ ก็มีเยอะมาก ในภาคอีสาน เห็ดแดง หน่อไม้ ไข่มดแดง ดอกกระเจียว ผักอีหรอก แมงคับแมงคาม ขี้กะปอมเยอะ แต่บางคนก็ไม่กินนะ บางคนก็กิน ซึ่งมันดีมากเพราะว่า
๑.สะอาด อาหารธรรมชาติ ไม่มีใครไปใส่ปุ๋ยเคมี
๒.ไม่ได้ซื้อ ไม่ได้ใช้เงิน ขอให้ขยันเดินไปเก็บ
สมัยก่อน ที่อังกฤษ ผมจะเดินแบกอิฐทั้งวัน เมื่อได้เงินแล้ว ก็เอาเงินเกือบทั้งหมดไปซื้ออาหารในร้าน ฝรั่งส่วนมาก ทำงานหนักทุกวัน แต่เงินที่เขาได้ มันเพียงพอที่จะซื้ออาหารกินเท่านั้น ไม่มีเงินเหลือ ฝากธนาคาร
นิยามความรวยกับความจน
มันเป็นเรื่องแปลก นะที่ประเทศไทย คนยากจนมีหนี้สินเยอะ ที่อังกฤษมีแต่คนรวย ที่มีหนี้สิน คนจนไม่มีหนี้ เพราะเขาไม่ให้คนจนยืมเงิน เนื่องจากกลัวจะไม่มีปัญญาใช้คืน จึงไม่มีสิทธิ์ มีหนี้สิน แต่คนรวยยืมเงินได้ คำว่ารวยกับคำว่าจน มันคืออะไรกันแน่ ? ที่ขอนแก่นเขาว่าผมบ้าบ้าง ฝรั่งยากจนบ้าง ฝรั่งตกอับบ้าง ฝรั่งขี้นก ฝรั่งไม่มีเงิน แต่ผมบอกว่า ไม่ใช่ ผมรวยนะ เขาถามว่ารวยได้ยังไง ผมบอกว่า ๑. ผมมีบ้าน ผมทำบ้านเล็กๆ เป็นกระท่อมน้อยๆ เอาหญ้ามามุงหลังคา ชาวบ้านเรียกว่า เถียงนา ไม่ใช่บ้านหรอก ผมบอกว่าใช่ มันบ้านของผม ไม่ใช่บ้านเจ้านาย ราคาหนึ่งหมื่นสองพันบาท อยู่ได้ครับ มันกันแดดกันฝนได้ แค่นั้นผมก็รวยแล้ว ๒. มีที่ดิน แค่ ๖ ไร่เท่านั้นเอง ที่นั่นเขาบอกว่ากระจอก มีนิดเดียว แต่สำหรับฝรั่ง มันเยอะมาก จริงๆ ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต เราต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของเรา ไม่ใช่ของเจ้านาย เพราะว่าถ้ามันเป็นของเจ้านาย เราต้องไปหาเงินให้เขา ถ้าเราไม่มีเงิน เขาก็ไล่เราออก เราไม่มีที่อยู่นะ เพราะฉะนั้น ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองไว้ก่อนซึ่งผมก็มีบ้าน คิดว่าลูกของผม จะต้องมีบ้านแน่ๆ ด้วย เรื่องเกษตรผมทำไม่เก่ง แต่ที่ทำได้ง่ายคือ ปลูกต้นไม้ ไม้ประดู่ ไม้สะเดา ไม้ยาง ปลูกไว้ให้ลูกสร้างบ้าน ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้โตเร็วมาก แค่ ๒๕-๓๐ ปี ตัดได้แล้ว ไม่เหมือนอังกฤษ ๒๐๐ ปีได้เท่านี้เอง เพราะอากาศเย็นเป็นเรื่องแปลก ที่คนไทยจะบ่น โอ๊ย..มันร้อนๆ ผมว่ากลับเป็นเรื่องดีแสงแดดเยอะ จะทำการเกษตรได้ ตลอดเวลา ๑ ปี ทำได้ทุกวันแต่คนไทยจะบ่นร้อนๆ ไม่เอาๆ อยากเป็นคนผิวขาวดีกว่า แต่คนอังกฤษ เขาถือคนผิวขาวเป็นคนจน เพราะว่าไม่มีปัญญา จะไปเมืองนอก ซึ่งกลับกันเลย แม้แต่พ่อของผม เขาก็ยังมีเครื่องอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ให้ดูเป็นแบบคนมีสตางค์ แต่คนไทย กลับอยากมีผิวขาว
มันเป็นเรื่องแปลก นะที่ประเทศไทย คนยากจนมีหนี้สินเยอะ ที่อังกฤษมีแต่คนรวย ที่มีหนี้สิน คนจนไม่มีหนี้ เพราะเขาไม่ให้คนจนยืมเงิน เนื่องจากกลัวจะไม่มีปัญญาใช้คืน จึงไม่มีสิทธิ์ มีหนี้สิน แต่คนรวยยืมเงินได้ คำว่ารวยกับคำว่าจน มันคืออะไรกันแน่ ? ที่ขอนแก่นเขาว่าผมบ้าบ้าง ฝรั่งยากจนบ้าง ฝรั่งตกอับบ้าง ฝรั่งขี้นก ฝรั่งไม่มีเงิน แต่ผมบอกว่า ไม่ใช่ ผมรวยนะ เขาถามว่ารวยได้ยังไง ผมบอกว่า ๑. ผมมีบ้าน ผมทำบ้านเล็กๆ เป็นกระท่อมน้อยๆ เอาหญ้ามามุงหลังคา ชาวบ้านเรียกว่า เถียงนา ไม่ใช่บ้านหรอก ผมบอกว่าใช่ มันบ้านของผม ไม่ใช่บ้านเจ้านาย ราคาหนึ่งหมื่นสองพันบาท อยู่ได้ครับ มันกันแดดกันฝนได้ แค่นั้นผมก็รวยแล้ว ๒. มีที่ดิน แค่ ๖ ไร่เท่านั้นเอง ที่นั่นเขาบอกว่ากระจอก มีนิดเดียว แต่สำหรับฝรั่ง มันเยอะมาก จริงๆ ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต เราต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของเรา ไม่ใช่ของเจ้านาย เพราะว่าถ้ามันเป็นของเจ้านาย เราต้องไปหาเงินให้เขา ถ้าเราไม่มีเงิน เขาก็ไล่เราออก เราไม่มีที่อยู่นะ เพราะฉะนั้น ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองไว้ก่อนซึ่งผมก็มีบ้าน คิดว่าลูกของผม จะต้องมีบ้านแน่ๆ ด้วย เรื่องเกษตรผมทำไม่เก่ง แต่ที่ทำได้ง่ายคือ ปลูกต้นไม้ ไม้ประดู่ ไม้สะเดา ไม้ยาง ปลูกไว้ให้ลูกสร้างบ้าน ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้โตเร็วมาก แค่ ๒๕-๓๐ ปี ตัดได้แล้ว ไม่เหมือนอังกฤษ ๒๐๐ ปีได้เท่านี้เอง เพราะอากาศเย็นเป็นเรื่องแปลก ที่คนไทยจะบ่น โอ๊ย..มันร้อนๆ ผมว่ากลับเป็นเรื่องดีแสงแดดเยอะ จะทำการเกษตรได้ ตลอดเวลา ๑ ปี ทำได้ทุกวันแต่คนไทยจะบ่นร้อนๆ ไม่เอาๆ อยากเป็นคนผิวขาวดีกว่า แต่คนอังกฤษ เขาถือคนผิวขาวเป็นคนจน เพราะว่าไม่มีปัญญา จะไปเมืองนอก ซึ่งกลับกันเลย แม้แต่พ่อของผม เขาก็ยังมีเครื่องอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ให้ดูเป็นแบบคนมีสตางค์ แต่คนไทย กลับอยากมีผิวขาว
วิธีคิดไม่ธรรมดาของมาร์ติน วีลเลอร์
ผมมีลูก ๓ คน ชาย ๒ หญิง ๑ สิ่งสำคัญที่สุด ๒ เรื่องในชีวิตของเราคือ
๑.ต้องมีบ้าน เป็นของตัวเองให้ได้ จึงจะถือว่า ชีวิตประสบความสำเร็จ
๒.ต้องมีงานทำทุกวัน ไม่ได้จำกัดว่า ต้องเป็นงานอะไร แต่ขอให้ มีงานทำทุกวัน
ผมมีลูก ๓ คน ชาย ๒ หญิง ๑ สิ่งสำคัญที่สุด ๒ เรื่องในชีวิตของเราคือ
๑.ต้องมีบ้าน เป็นของตัวเองให้ได้ จึงจะถือว่า ชีวิตประสบความสำเร็จ
๒.ต้องมีงานทำทุกวัน ไม่ได้จำกัดว่า ต้องเป็นงานอะไร แต่ขอให้ มีงานทำทุกวัน
ชีวิตจึงจะไม่สูญเปล่า วิธีเดียวที่รับประกันได้ว่า ลูกมีงานทำ คือการมีที่ทำกินให้เขา และเราต้องช่วยให้เขาทำเป็น ผมคิดว่าคนชนบทจริงๆใครมีที่ดินทำกินแล้วจะไม่ตกงาน เว้นแต่คนขี้เกียจ ซึ่งบางคนมีที่ดินเยอะ แต่ไม่ยอมทำ ถ้าเราสั่งสอน ให้ลูกรู้จักทำมาหากิน เขาก็ไม่ตกงาน ผมถือว่างานที่อิสระ และมีประโยชน์ มากที่สุด คืองานเกษตรซึ่งช่วยให้เรากินอิ่มทุกวัน คนอังกฤษกินไม่อิ่มเยอะมากนะ ผมไม่อยากให้ลูกของผมอดอาหาร อยากให้ลูกกินอิ่มในลักษณะที่ส่งเสริมสุขภาพด้วย กินอาหาร ที่ไม่มีสารพิษ กินอาหารแบบเรียบง่ายก็ได้ แต่อิ่มทุกวัน เมื่อมีบ้าน มีงาน มีอาหาร ลูกของผม ก็จะรวยที่สุด ผมอยากให้ลูกอยู่บ้านนอกเพราะว่าสะอาด จ้างเท่าไหร่ ก็ไม่อยาก ให้ไปอยู่ ในเมืองหรอกเพราะสกปรก แออัด สำคัญที่สุดคือเรื่องของสังคม ผมไม่อยากให้ลูกไปอยู่ในเมือง เพราะว่า คนเมืองเห็นแก่ตัว วิ่งไปหาเงินอย่างเดียว แข่งขันกันเยอะ เดี๋ยวก็ฆ่ากัน ด่ากันทุกวัน ไม่สงบ อยากให้ลูกอยู่บ้านนอก เขาจะได้สิ่งที่หายากที่สุดในโลก คนอีสานบ้านนอกเป็นคนดีมากนะ มีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือคนอื่น เอื้ออาทรกัน เกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน ไม่แข่งขันกัน ความเป็นชุมชนเป็นสิ่งที่หายากนะ ถ้าเราไปอยู่ในเมือง จะอยู่แบบ ของใครของมัน บ้านคนละหลัง ครอบครัวคนละหลัง ไม่รู้จักกัน ถ้าเราอยู่ในชุมชนเล็กๆ เราก็ช่วยเหลือกันได้ คุยกันได้ แบ่งปันกันได้ ในที่สุดเราก็จะเป็นคนมีน้ำใจได้ ลูกของผมเขาเป็นคนมีน้ำใจ เขาอาจจะไม่มีเงินไม่ได้เรียนหนังสือสูงๆ แต่เขาจะมีสิ่งที่ดีกว่านั้นเยอะ คือเขาจะมีที่อยู่อาศัย มีชุมชนที่ดี ไม่มียาเสพติดไม่มีการพนัน ไม่มีอาชญากรรม มันน่าอยู่ ขอให้เราอยู่ในชุมชนที่เป็นแบบนั้นมันก็ดีนะ ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องเป็นห่วง ลูกก็จะเป็นคนดี ไม่ติดยา ไม่ขี้ขโมย ไม่เล่นไพ่ มีน้ำใจและรู้จักช่วยเหลือคนอื่นลูกผมเรียนหนังสือไม่เก่ง ปีนี้เขาได้คะแนนเป็นอันดับที่ ๑๙ ในห้องของเขามีนักเรียน ๓๙ คน มันเดินสายกลาง พอดีเลย (หัวเราะ)
แต่ผมไม่ได้สนใจเรื่องอันดับคะแนนหรอก
ครูเขาเขียนถึงอุปนิสัยของลูกว่า เป็นคนที่มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งผมไม่ได้สอนแบบนั้น ฝรั่งส่วนมากจะเห็นแก่ตัว ผมเคยอยู่ ในสังคม อย่างนั้นมาก่อน มันเปลี่ยนยากครับ ผมจึงไม่ได้สอนให้ลูกเป็นคนมีน้ำใจ แต่มันเป็นที่ชุมชน เป็นวิถีชีวิตของคนอีสาน ที่เริ่มซึมเข้าไปในกระดูกของเขา ทำให้ลูกอายุแค่ ๘ ขวบเป็น คนมีน้ำใจ ผมถือว่าสุดยอดแล้ว ผมภูมิใจในตัวของลูกมากๆ เรื่องเรียนไม่สำคัญหรอก สำคัญที่สุดนั้น เป็นความมีน้ำใจถ้าเขาสามารถรักษาสิ่งนี้ไว้ตลอดชีวิต ผมคิดว่า เขาคงมีความสุขแน่ ลูกของผม จะมีความคิด สูงกว่านั้น ชีวิตน่าจะมีไว้เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่เงินวิเคราะห์เจาะลึกอีสานบ้านเฮา ผมเคยบังคับลูกชายคนแรก ตอนอายุประมาณ ๓ ขวบ จับมานั่งสอนภาษาอังกฤษ เขาก็ร้องไห้ ๆ ไม่เอาๆๆ ผมก็คิดว่า เอ๊ะ..เราน่าจะเลิกทรมานเด็ก ปล่อยให้เขามีความสุข ตั้งแต่วันนั้น ผมบอก จะไม่สอนเขาอีก แต่ถ้าอยากเรียนมาบอกผม จะสอนให้ ตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันนี้ เขายังไม่บอกผมเลย ผมก็มาคิดว่า จะให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษเพื่ออะไร ในหมู่บ้าน ของผมมี ๕๐ ครอบครัว ทุกคนพูดอีสานอย่างเดียว แม้แต่ผมก็ยังพูด แล้วจะให้เขาเรียนภาษาอังกฤษ เพื่ออะไร?
ครูเขาเขียนถึงอุปนิสัยของลูกว่า เป็นคนที่มีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งผมไม่ได้สอนแบบนั้น ฝรั่งส่วนมากจะเห็นแก่ตัว ผมเคยอยู่ ในสังคม อย่างนั้นมาก่อน มันเปลี่ยนยากครับ ผมจึงไม่ได้สอนให้ลูกเป็นคนมีน้ำใจ แต่มันเป็นที่ชุมชน เป็นวิถีชีวิตของคนอีสาน ที่เริ่มซึมเข้าไปในกระดูกของเขา ทำให้ลูกอายุแค่ ๘ ขวบเป็น คนมีน้ำใจ ผมถือว่าสุดยอดแล้ว ผมภูมิใจในตัวของลูกมากๆ เรื่องเรียนไม่สำคัญหรอก สำคัญที่สุดนั้น เป็นความมีน้ำใจถ้าเขาสามารถรักษาสิ่งนี้ไว้ตลอดชีวิต ผมคิดว่า เขาคงมีความสุขแน่ ลูกของผม จะมีความคิด สูงกว่านั้น ชีวิตน่าจะมีไว้เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่เงินวิเคราะห์เจาะลึกอีสานบ้านเฮา ผมเคยบังคับลูกชายคนแรก ตอนอายุประมาณ ๓ ขวบ จับมานั่งสอนภาษาอังกฤษ เขาก็ร้องไห้ ๆ ไม่เอาๆๆ ผมก็คิดว่า เอ๊ะ..เราน่าจะเลิกทรมานเด็ก ปล่อยให้เขามีความสุข ตั้งแต่วันนั้น ผมบอก จะไม่สอนเขาอีก แต่ถ้าอยากเรียนมาบอกผม จะสอนให้ ตั้งแต่วันนั้น จนถึงวันนี้ เขายังไม่บอกผมเลย ผมก็มาคิดว่า จะให้ลูกเรียนภาษาอังกฤษเพื่ออะไร ในหมู่บ้าน ของผมมี ๕๐ ครอบครัว ทุกคนพูดอีสานอย่างเดียว แม้แต่ผมก็ยังพูด แล้วจะให้เขาเรียนภาษาอังกฤษ เพื่ออะไร?
สมมุติว่าลูกของผมอยากอยู่ในหมู่บ้านนี้ตลอดชีวิต
ภาษาอังกฤษก็จะเป็น ความรู้ ที่ไม่เป็น ประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ผมเคยเรียกว่า มันเป็นวิชาขี้ข้า เอาไว้รับจ้างเฉยๆ เอาไปหาเงิน คนที่มีความรู้ ภาษาอังกฤษ จะเอาอันนี้แลกกับเงินอย่างเดียว เขาไม่ได้เรียนเพื่อชีวิตของเขา เขาอยากเอาเงิน ไปทำงานสูงๆ หน่อย ปัญหาของคนอีสานมีมากในเรื่องของการศึกษา คนอีสานส่วนมากไม่อยากให้ลูกเป็นคนอีสาน ไม่อยากให้ลูกเป็นคนบ้านนอก ไม่อยากให้ลูกพูดภาษาอีสาน อยากให้พูดไทย ชาวบ้านส่วนมาก คิดอยากให้ลูกได้ดีในชีวิต คิดว่าสิ่งที่ดีในชีวิตของลูกคือ
๑.ไม่ได้พูดอีสาน พูดแต่ภาษาไทย
๒. พูดภาษาอังกฤษด้วย
๓. เล่นคอมพิวเตอร์ได้
๔.ไปอยู่ในเมือง
๕.ไปรับจ้างเขา
๖. ไปสร้าง หนี้สิน ไปซื้อบ้านหลังเล็กๆ ราคา ๒ ล้าน ๓ ล้านบาท
ภาษาอังกฤษก็จะเป็น ความรู้ ที่ไม่เป็น ประโยชน์อะไรทั้งสิ้น ผมเคยเรียกว่า มันเป็นวิชาขี้ข้า เอาไว้รับจ้างเฉยๆ เอาไปหาเงิน คนที่มีความรู้ ภาษาอังกฤษ จะเอาอันนี้แลกกับเงินอย่างเดียว เขาไม่ได้เรียนเพื่อชีวิตของเขา เขาอยากเอาเงิน ไปทำงานสูงๆ หน่อย ปัญหาของคนอีสานมีมากในเรื่องของการศึกษา คนอีสานส่วนมากไม่อยากให้ลูกเป็นคนอีสาน ไม่อยากให้ลูกเป็นคนบ้านนอก ไม่อยากให้ลูกพูดภาษาอีสาน อยากให้พูดไทย ชาวบ้านส่วนมาก คิดอยากให้ลูกได้ดีในชีวิต คิดว่าสิ่งที่ดีในชีวิตของลูกคือ
๑.ไม่ได้พูดอีสาน พูดแต่ภาษาไทย
๒. พูดภาษาอังกฤษด้วย
๓. เล่นคอมพิวเตอร์ได้
๔.ไปอยู่ในเมือง
๕.ไปรับจ้างเขา
๖. ไปสร้าง หนี้สิน ไปซื้อบ้านหลังเล็กๆ ราคา ๒ ล้าน ๓ ล้านบาท
เขาคิดว่า อย่างนี้ลูกของเขาได้ดี ซึ่งผมไม่เห็นด้วย ผมก็อยากให้ลูกของผมได้ดีเหมือนกัน แต่ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ปัจจัย ที่จะช่วยให้เขาได้ชีวิตที่ดี
อาจจะเอาไปแลกเงินในบางช่วงได้ แต่ผมหวังว่า ถ้าเขาเรียนรู้ เพื่ออยาก จะหาเงิน อย่างเดียวก็น่าเสียใจนะ เพราะความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ทุกวันตลอดชีวิต เราหยุดเรียนรู้ไม่ได้ แต่เราไม่น่าจะเรียน เพื่อเอาความรู้ เอาปริญญา ไปแลกกับเงิน ทำให้ความรู้ไม่มีคุณค่า
อาจจะเอาไปแลกเงินในบางช่วงได้ แต่ผมหวังว่า ถ้าเขาเรียนรู้ เพื่ออยาก จะหาเงิน อย่างเดียวก็น่าเสียใจนะ เพราะความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ทุกวันตลอดชีวิต เราหยุดเรียนรู้ไม่ได้ แต่เราไม่น่าจะเรียน เพื่อเอาความรู้ เอาปริญญา ไปแลกกับเงิน ทำให้ความรู้ไม่มีคุณค่า
จุดอ่อนจุดแข็งของคนไทย
ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจระบบทุนนิยม เห็นฝรั่งที่ไหน ก็คิดว่ารวยหมด คิดว่าการพัฒนา ในระบบทุนนิยมจะทำให้ทุกคนมีเงิน ไม่เข้าใจว่าประเทศที่พัฒนา ระบบทุนนิยม นานแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐ มีปัญหาเยอะมาก แต่คนไทยก็คิดว่า เมืองนอก ดีกว่า อันนี้จุดอ่อนครับ คือคนไทยสนใจ เมืองนอก ไม่ได้สนใจ ประเทศไทย
ผมเป็นฝรั่ง คุณเลยนั่งฟังผม ถ้าผมเป็นชาวบ้าน คุณจะไม่สนใจผม อันนี้เป็นจุดอ่อนนะ แต่จุดแข็งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แผ่นดินประเทศไทย อุดมสมบูรณ์มากๆ ที่ดินเยอะมาก น้ำเยอะมาก แสงแดดเยอะมาก ทำเกษตรอยู่รอดแน่ เป็นพลังแผ่นดิน ใครๆ ก็อยากได้ประเทศไทย ผมก็ได้ถึง ๖ ไร่
ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจระบบทุนนิยม เห็นฝรั่งที่ไหน ก็คิดว่ารวยหมด คิดว่าการพัฒนา ในระบบทุนนิยมจะทำให้ทุกคนมีเงิน ไม่เข้าใจว่าประเทศที่พัฒนา ระบบทุนนิยม นานแล้ว เช่น อังกฤษ สหรัฐ มีปัญหาเยอะมาก แต่คนไทยก็คิดว่า เมืองนอก ดีกว่า อันนี้จุดอ่อนครับ คือคนไทยสนใจ เมืองนอก ไม่ได้สนใจ ประเทศไทย
ผมเป็นฝรั่ง คุณเลยนั่งฟังผม ถ้าผมเป็นชาวบ้าน คุณจะไม่สนใจผม อันนี้เป็นจุดอ่อนนะ แต่จุดแข็งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แผ่นดินประเทศไทย อุดมสมบูรณ์มากๆ ที่ดินเยอะมาก น้ำเยอะมาก แสงแดดเยอะมาก ทำเกษตรอยู่รอดแน่ เป็นพลังแผ่นดิน ใครๆ ก็อยากได้ประเทศไทย ผมก็ได้ถึง ๖ ไร่
คนไทยโชคดีมากๆ
ที่ได้ในหลวง เป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงาน หนักมาก เพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ ในประเทศอื่น ไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่าน บอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทย ก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิต ไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิด ของในหลวง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ต้องอาศัย พลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ เหมือนประเทศไทย พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดีๆ ได้ผู้นำที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่าศาสนาพุทธ มีความสำคัญมากๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอ แต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่ายๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของ ศาสนาพุทธ ทำได้นะ แต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริงๆ แล้วศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสม สำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับ ธรรมชาติ โดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ที่ได้ในหลวง เป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงาน หนักมาก เพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ ในประเทศอื่น ไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่าน บอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทย ก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิต ไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิด ของในหลวง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ต้องอาศัย พลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ เหมือนประเทศไทย พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดีๆ ได้ผู้นำที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่าศาสนาพุทธ มีความสำคัญมากๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอ แต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่ายๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของ ศาสนาพุทธ ทำได้นะ แต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริงๆ แล้วศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสม สำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับ ธรรมชาติ โดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
คุณโชคดีมากๆ ที่เกิดในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปรบกับใคร ไม่ต้องไปเอาน้ำมัน จากใคร ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น ประเทศไทยอยู่ได้ กินอิ่ม มีเหลือแจกด้วย อย่าไปคิดเรื่องเงินอะไรมาก อย่าลดคุณค่าความเป็นไทยของตัวเองลง คนไทยส่วนมาก นิสัยดีจริงๆ คนไทยมีน้ำใจ หายากนะ คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัวมีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธ ที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ ชีวิตที่ไม่ทะเยอทะยานเกินไป คือชีวิต ที่มีคุณภาพ ชาวบ้านทุกคนทำได้ ผมเองถึงยังทำไม่สำเร็จ แต่มั่นใจว่าจะทำได้แน่ในอนาคต ถ้าผมทำได้ คนอื่นก็คงทำได้ง่ายกว่าผมเยอะ ทุกอย่างอยู่ที่เรา ถ้าเราไม่อยากได้อะไร มากเกินไป ในชีวิต ชีวิตมันก็ง่าย พยายามทำให้ชีวิตมันง่ายขึ้น อย่าให้มันสับสน อย่าให้มันลำบาก พยายามรักษา สิ่งแบบนี้ให้ดี และอย่าเชื่อฝรั่งมากเกินไป
พ่อผายปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน
ผาย สร้อยสระกลาง หรือพ่อผาย ปราชญ์ชาวบ้านนักจัดการของภาคอีสาน ประกอบอาชีพเกษตรกรแบบผสมผสาน เป็นแกนนำในเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน เป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวคิดเรื่องการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่คนในชุมชนมาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี
ในอดีตพ่อผายเคยบวชเรียนอยู่ 10 พรรษา และได้นักธรรมเอง หลังจากสึกออกมาเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีภรรยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักพัฒนาของพ่อผาย สืบเนื่องจากพ่อผายผ่านการบวชเรียนมาหลายพรรษา ทำให้พ่อผายสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมะพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อหาแนวร่วมทางความคิด จนสามารถจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านโดยอาศัยการพัฒนาบนฐานของวัฒนธรรมเดิม ปลุกจิตสำนึกให้คนหวงแหนบ้านเกิดจนอยากที่จะร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง แต่ผลจากการพัฒนาประเทศโดยรวม ได้นำพาอีสานเข้าสู่กระแสพายุ “ปฏิวัติเขียว” พ่อผายและชาวบ้านได้ถูกพัดไปตามกระแสโดยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ส่งผลให้แนวความคิดในการดำรงชีวติเปลี่ยนไป จากเดิมทำการเกษตรเพื่ออยู่เพื่อกิน มีกินก็มีใช้ตามอัตภาพ เปลี่ยนเป็นทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อสนองความต้องการตลาด โดยหวังว่าจะได้เงินทองจำนวนมาก เพื่อจะยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น
ในปี 2525 สภาพอากาศแห้งแล้งจัด ชาวบ้านสระคูณได้รับความเดือดร้อนมากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และต่อมาได้มีคนเสนอขายที่สาธารณะที่อำเภอละหานทราย จำนวน 100 ไร่เศษ เพื่อปลูกข้าวโพด โดยชักชวนหว่านล้อมให้เห็นลาภก้อนโต จากแนวคิดของพ่อผายตัดสินใจกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท เพื่อนำเงินไปลงทุนปลูกข้าวโพด ที่ อำเภอละหานทราย แต่ผลของการตัดสินใจครั้งนั้นไม่เป็นไปตามที่มุ่งหวังไว้ ปีแรกผลิตไม่ได้มากเพราะฝนแล้งทำให้ขาดทุน ปีที่สองผลผลิตออกมามากแต่ถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบ ทำให้พ่อผายไม่มีเงินมาใช้หนี้ เงินที่จะลงทุนต่อไปก็หมด ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้พ่อผายได้คิดทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมา จึงได้รู้ว่าที่ผ่านมาตนเองเดินทางผิด คิดแค่เพียงว่าอยากรวยจึงทำให้เป็นหนี้ ผลจากการกระทำนี้ก็ได้ทำลายทุนทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวในพื้นที่ติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ทำลายทุนทางครอบครัว เนื่องจากต้องจากบ้านมา พ่อผายได้คิดหาทางออกจึงตัดสินใจว่า “จะไม่ไปหาเงิน แต่จะให้เงินมาหาเอง จะไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่จะเอางานและความสุขเป็นตัวตั้ง” เมื่อคิดได้จึงตัดสินใจกลับบ้านเพื่อสร้างฐานความพออยู่พอกิน พ่อผายได้ค้นหาวิธีในการแก้ปัญหาโดยการนำคำสอนของพ่อแม่ที่เคยสั่งสอนในสมัยที่เป็นเด็กมาประยุกต์ใช้ “แม่ไปไฮ่หมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน แม่เลี้ยงม่อนอยู่ที่ป่าสวนมอน” ทำให้เกิดความคิดในการแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส เร่งสร้างกองทุนโดยการพึ่งตนเองจากทุนเดิมที่พ่อแม่มอบให้ คือมือซ้ายห้าแสน มือขวาห้าแสน โดยการขุดสระเพื่อการออมน้ำ การสร้างปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ และการฝากเงินออมโดยการออมสัตว์เลี้ยง การรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยการออมต้นไม้
ในอดีตพ่อผายเคยบวชเรียนอยู่ 10 พรรษา และได้นักธรรมเอง หลังจากสึกออกมาเป็นฆราวาสได้แต่งงานมีภรรยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้รับคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักพัฒนาของพ่อผาย สืบเนื่องจากพ่อผายผ่านการบวชเรียนมาหลายพรรษา ทำให้พ่อผายสามารถประยุกต์ใช้หลักธรรมะพูดคุยกับชาวบ้าน เพื่อหาแนวร่วมทางความคิด จนสามารถจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านโดยอาศัยการพัฒนาบนฐานของวัฒนธรรมเดิม ปลุกจิตสำนึกให้คนหวงแหนบ้านเกิดจนอยากที่จะร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านของตนเอง แต่ผลจากการพัฒนาประเทศโดยรวม ได้นำพาอีสานเข้าสู่กระแสพายุ “ปฏิวัติเขียว” พ่อผายและชาวบ้านได้ถูกพัดไปตามกระแสโดยการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ส่งผลให้แนวความคิดในการดำรงชีวติเปลี่ยนไป จากเดิมทำการเกษตรเพื่ออยู่เพื่อกิน มีกินก็มีใช้ตามอัตภาพ เปลี่ยนเป็นทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อสนองความต้องการตลาด โดยหวังว่าจะได้เงินทองจำนวนมาก เพื่อจะยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวให้ดีขึ้น
ในปี 2525 สภาพอากาศแห้งแล้งจัด ชาวบ้านสระคูณได้รับความเดือดร้อนมากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และต่อมาได้มีคนเสนอขายที่สาธารณะที่อำเภอละหานทราย จำนวน 100 ไร่เศษ เพื่อปลูกข้าวโพด โดยชักชวนหว่านล้อมให้เห็นลาภก้อนโต จากแนวคิดของพ่อผายตัดสินใจกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท เพื่อนำเงินไปลงทุนปลูกข้าวโพด ที่ อำเภอละหานทราย แต่ผลของการตัดสินใจครั้งนั้นไม่เป็นไปตามที่มุ่งหวังไว้ ปีแรกผลิตไม่ได้มากเพราะฝนแล้งทำให้ขาดทุน ปีที่สองผลผลิตออกมามากแต่ถูกพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบ ทำให้พ่อผายไม่มีเงินมาใช้หนี้ เงินที่จะลงทุนต่อไปก็หมด ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้พ่อผายได้คิดทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมา จึงได้รู้ว่าที่ผ่านมาตนเองเดินทางผิด คิดแค่เพียงว่าอยากรวยจึงทำให้เป็นหนี้ ผลจากการกระทำนี้ก็ได้ทำลายทุนทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวในพื้นที่ติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ทำลายทุนทางครอบครัว เนื่องจากต้องจากบ้านมา พ่อผายได้คิดหาทางออกจึงตัดสินใจว่า “จะไม่ไปหาเงิน แต่จะให้เงินมาหาเอง จะไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่จะเอางานและความสุขเป็นตัวตั้ง” เมื่อคิดได้จึงตัดสินใจกลับบ้านเพื่อสร้างฐานความพออยู่พอกิน พ่อผายได้ค้นหาวิธีในการแก้ปัญหาโดยการนำคำสอนของพ่อแม่ที่เคยสั่งสอนในสมัยที่เป็นเด็กมาประยุกต์ใช้ “แม่ไปไฮ่หมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน แม่เลี้ยงม่อนอยู่ที่ป่าสวนมอน” ทำให้เกิดความคิดในการแก้ไขปัญหา โดยการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส เร่งสร้างกองทุนโดยการพึ่งตนเองจากทุนเดิมที่พ่อแม่มอบให้ คือมือซ้ายห้าแสน มือขวาห้าแสน โดยการขุดสระเพื่อการออมน้ำ การสร้างปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ และการฝากเงินออมโดยการออมสัตว์เลี้ยง การรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยการออมต้นไม้
พ่อผายได้ใช้หลักคิด “อ่านตัวเองให้ออก บอกตัวเองให้ได้” ซึ่งหมายความว่า เราเป็นชาวนาจะให้ไปเป็นนายอำเภอ เป็นหมอ ฝืนธรรมชาติ จึงตั้งมั่นว่าจะเป็นชาวนาที่สามารถพึ่งตนเองได้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และที่สำคัญต้องมีความสุข ซึ่งหมายถึงการมีหลักประกันในชีวิตครบถ้วน มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง มีสิ่งแวดล้อมที่ดี อิสรภาพ และเข้าถึงธรรมะโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง จากแนวคิดที่ได้พ่อผายจึงเริ่มวางแผนทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยคิดว่าปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำเกษตร คือ น้ำ จึงได้ตัดสินใจแบ่งพื้นที่นา 15 ไร่
เพื่อขุดสระด้วยจอบแต่ประสบปัญหาเนื่องจากภรรยาไม่ยอมให้ขุด เพราะเห็นว่าพื้นที่นานาที่มีอยุ่น้อย ถ้าขุดสระพื้นที่เพาะปลูกก็จะเหลือน้อย แต่ด้วยความแน่วแน่และมุ่งมั่น พ่อผายจึงตัดสินใจขุดสระน้ำด้วยจอบเพียงลำพังให้เวลา 8 เดือนจึงประสบผลสำเร็จ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนทำให้สามารถกักเก็บน้ำจนเต็มสระได้ จากนั้นก็ไปเรียนเรื่องการเพาะเลี้ยงปลา หลักจากนั้นได้นำพันธุ์ปลาจำนวน 1,000 ตัวมาเลี้ยงในสระ เมื่อปลาโตเต็มที่ ก็ได้ออกอุบายให้ภรรยามาช่วยจับปลา เมื่อภรรยาเห็นปลาที่อยู่ในสระก็ดีใจ จึงยอมรับแนวคิดของพ่อผายในที่สุด การกระทำนี้เป็นการทำเป็นตัวอย่างให้เห็น เป็นการหาแนวร่วมในครอบครัวก่อน
หลังจากประสบความสำเร็จในการขุดบ่อเลี้ยงปลา พ่อผายก็ขุดสระเพิ่มอีก 2 บ่อ โดยพื้นที่บนสระก็ปลูกผักผลไม้ เลี้ยงหมู, เป็ด, ไก่, ในฤดูทำนาก็มีน้ำสำหรับทำนา ผลผลิตทีได้ก็นำไปบริโภคในครอบครัวส่วนที่เหลือจากบริโภค ก็นำไปขาย จนสามารถเก็บเงินไปใช้หนี้ที่กู้ยืมมาจนหมด เงินที่เหลือก็นำไปซื้อที่เพิ่มจากเดิมมีพื้นที่ 15 ไร่ ปัจจุบันพ่อผายมีพื้นที่ทั้งหมด 95 ไร่ จากกิจกรรมที่หลากหลายใรแปลงเกษตร มีพืชพันธุ์มากมาย อาทิ ไม้ยืนต้น ผัก ผลไม้ต่างๆ ทำให้พื้นที่ของพ่อผายมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรียืวัตถุที่สำคัญผลผลิตที่ได้ปลอดจากสารพิษ สามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัยจากสารพิษ สามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัยจากการที่พ่อผายเข้าใจในหลักการ และสามารถปฏิบัติจนประสบผลสำเร็จสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้ว ก็เริ่มขยายแนวคิดและวิธีการทำให้กับญาติ พี่น้อง
คนในชุมชน และผู้ที่สนใจโดยทั่วไป ซึ่งได้มีการปฏิบัติจนสามารถรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ชื่อกลุ่ม “อีโต้น้อย” กิจกรรมที่กลุ่มทำได้ได้แก่ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การจัดบุญประทายข้าวเปลือก การเทศน์มหาชาติ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การรักษาโรคแบบพื้นบ้าน ส่งเสริมให้เยาวชนในหมู่บ้านทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับหมู่บ้าน จัดตั้งกองทุนวัว จัดตั้งกองทุนหมุนเวียน จัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาดและกลุ่มออมทรัพย์ และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการฌาปนกิจสงเคราะห์ศพ
นอกจากที่พ่อผายทำกิจกรรมภายใต้กลุ่มอีโต้น้อยแล้ว ก็ยังดำเนินกิจกรรมร่วมกับปราชญ์ท่านอื่นอีกเช่น ในช่วง ปี พ.ศ.2534 องค์กรพัฒนาเอกชนมูลนิธิหมู่บ้าน โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ และอาจารย์ยงยุทธ์ ตรีรุชกร ได้เข้ามาผลักดันให้เกิดการรวมตัวของปราชญ์ภายใต้ชื่อ
นอกจากที่พ่อผายทำกิจกรรมภายใต้กลุ่มอีโต้น้อยแล้ว ก็ยังดำเนินกิจกรรมร่วมกับปราชญ์ท่านอื่นอีกเช่น ในช่วง ปี พ.ศ.2534 องค์กรพัฒนาเอกชนมูลนิธิหมู่บ้าน โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ และอาจารย์ยงยุทธ์ ตรีรุชกร ได้เข้ามาผลักดันให้เกิดการรวมตัวของปราชญ์ภายใต้ชื่อ
“ชมรมอุ้มชูไทยอีสาน” เป็นการนำปราชญ์ผู้ที่มีความรู้เรื่องธาตุทั้ง 4 มารวมตัวกัน ประกอบด้วย พ่อผาย สร้อยสระกลาง (ธาตุดิน) พ่อทัศ กระยอม (ธาตุน้ำ) พ่อหนูเย็น ศรีสิงห์ (ธาตุลม) และพ่อบัวศรี ศรีสูง (ธาตุไฟ) โดยมีพ่อบัวศรี เป็นประธานกลุ่ม แนว ดำเนินการของชมรมนี้จะส่งเสริมกันและกัน และเสนอทิศทางที่เหมาะสมให้กับสถาบันและสังคมอื่นๆ ได้รับรู้บนพื้นฐานของแนวทางแก้ไขปัญหาขององค์กรชาวบ้าน เหตุเนื่องจากการพัฒนาภาคอีสานที่ผ่านมาไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาของอีสานได้อย่างมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม แตะจะลากไปตามกระแสสายธารใหม่ซึ่งรั้งแต่จะทำให้คนอีสานจมน้ำตายอีกสาเหตุหนึ่ง คือองค์กรชาวบ้านไม่มีการรวมตัวกัน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 อาจารย์เสน่ห์ จามริก เข้ามาร่วมทำโครงการโรงเรียนชุมชนอีสาน ภายใต้การนำกลุ่มชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย พ่อผาย สร้อยสระกลาง พ่อสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ และพ่อคำเดื่อง ภาษี วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมาก็เพื่อแสดงบทบาท และทำหน้าที่เป็นสถาบันประสานงานเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคอีสาน เป็นการพัฒนาคนอีสานให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเอง พึ่งพากันเองได้ในชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะภาคอีสาน เป็นการพัฒนาคนอีสานให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเอง พึ่งพากันเองได้ในชุมชนท้องถิ่น และพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองอย่างรอบด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อมีส่วนร่วมเสริมสร้างการพัฒนาประเทศชาติโดยรวมให้มั่นคง โรงเรียนชุมชนอีสานจึงได้กลายเป็นต้นแบบของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และสมาชิกของโรงเรียนทุกคนกลายเป็นกำลังสำคัญหลักของเครือข่าย
พ่อผายเป็นบุคคลสำคัญที่ได้ส่งเสริมให้ชุมชนและคนในชุมชนได้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยการทำเป็นตัวอย่างในเรื่องากรทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำความรู้ที่ได้ไปบอกต่อในชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้รู้จักการอุดรูรั่วของตนเอง ค่อยเป็นค่อยไปจากเล็กไปหาใหญ่ มีขันติ วิริยะ สัจจะ ก็จะทำให้งานทุกอย่างสำเร็จ รวมถึงได้ส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักการออมน้ำด้วยการขุดสระน้ำด้วยตนเองจนในชุมชนมีสระน้ำเป็นของตัวเองจำนวนกว่า 200 บ่อ จนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ
พ่อผายเป็นปราชญ์ชาวบ้านผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสระคูณ ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ทำกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิ การทำเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ การจัดบุญประทายข้าวเปลือก การเทศน์มหาชาติของทุกหมู่บ้าน โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การรักษาโรคด้วยสมุนไพรพื้นบ้านด้วยหมอยาสมุนไพร หมอนวด และหมอขวัญ ฯลฯ
พ่อผายบอกว่าผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านทั้งหลาย ล้วนแต่เคยผ่านประสบการณ์ล้มเหลวจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้งข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งพืชหลักอย่างการทำนาปลูกข้าวมาแล้วทั้งนั้น เพราะการที่ต้องพึ่งพากลไกตลาด และปัจจัยการผลิตที่ต้องลงทุนสูง แต่ขาดอำนาจต่อรอง ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ แทนที่จะมีฐานะดีขึ้น กลับเป็นหนี้ที่พอกพูนขึ้น ทั้งยังทำลายทุนทางสิ่งแวดล้อม ทำลายทุนทางสังคมและครอบครัว ลูกหลานต้องจากบ้านไปทำงานในเมือง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ จากการมุ่งหวังความร่ำรวย หันกลับมาสร้างดัชนีวัดชีวิตของตัวเองใหม่ว่าจะต้องมีหลักประกันในชีวิต มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง มีสิ่งแวดล้อมดี มีอิสรภาพ มีความภาคภูมิใจ และเข้าถึงธรรมะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
ชื่อกลุ่มอีโต้น้อย มีที่มาจากจุดเริ่มต้นของพ่อผาย ที่มีมีดอีโต้ติดตัวมาเล่มเดียว ไม่มีทุนหรือปัจจัยการผลิตอย่างอื่นเลย แต่ด้วยความที่เคยบวชเรียนมาก่อน พ่อผายจึงยึดถือหลักธรรมะของการพึ่งตนเอง คือ “อตฺตาหิ อตฺโน นาโถ” พร้อมกับมองในเชิงบวกว่าตนเองก็มีทุนติดตัวมา คือ ร่างกายที่พ่อแม่ให้มา มือขวาพ่อให้มา 5 แสน มือซ้ยพ่อให้มา 5 แสน แล้วเริ่มลงมือขุดสระ เลี้ยงปลา ปลูกต้นไม้ ทำเกษตรผสมผสานให้พึ่งตนเองได้ จนพัฒนามาเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน
จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ของพ่อผาย สร้อยสระกลาง ได้แก่ เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เน้นการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง มีการจัดการด้านการขยายเครือข่ายอย่างชัดเจน ทั้งในระดับกลุ่ม หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด สร้างเด็กรักถิ่นมาสืบทอดการเรียนรู้ มีการจัดการด้านกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนออมน้ำ กองทุนวัวควาย กองทุนวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ๆ อย่างเป็นระบบ วิทยากรจะไม่เอาข้าราชการหรือนักวิชาการ แต่ต้องเป็นคนในท้องถิ่นที่ผ่านการปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จ โดยมีบ้านพ่อผายเป็นศูนย์การเรียนรู้ และบ้านของวิทยากรเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง นอกจากนี้ยังมีกติกาว่าคนที่มาศึกษาดูงานที่ศูนย์นี้ให้ศึกษาอย่างเดียว ไม่ต้องแนะนำเพราะจะให้ให้คนอื่นหลงทางไปด้วย
เมื่อถามถึงมุมมองต่อการศึกษาในปัจจุบัน พ่อผายบอกว่ายังไม่น่าพอใจนัก เพราะมุ่งสอนให้คนรู้เฉพาะทาง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ไม่ได้สอนให้พึ่งตนเองได้ การศึกษาควรฟื้นฟูความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น จะได้รู้จักทุนของชุมชน รู้ปัญหาและพัฒนาการของความขัดแย้งที่ทำให้ชาติอ่อนแอ ได้รู้จักฐานทรัพยากรของท้องถิ่น ครูอย่าให้แต่เด็กท่องจำ แต่ต้องให้ปฏิบัติและคิดวิเคราะห์ไปด้วย
แนวคิดเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักในหมู่เกษตรกรและนักวิชาการชาวไทยเป็นอย่างดี ภายหลังจากที่หนังสือ One Rice Straw Revolution หรือในชื่อไทยคือ ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ได้รับการเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2530 ฟูกูโอกะได้รับรางวัล แมกไซไซ ในปี 2531 จากผลงานเกษตรธรรมชาติซึ่งมีหลักการสี่ประการได้แก่ การไม่ไถพรวน การไม่ใช้ปุ๋ยเคมี การไม่กำจัดวัชพืช และการไม่ใช้สารเคมี ซึ่งหลักการของฟูกูโอกะได้สวนทางกับการเกษตรกรรมแผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ฟูกูโอกะเป็นนักโรคพืชวิทยาที่ผันตัวเองไปเป็นเกษตรกรมาไม่ต่ำกว่า 50 ปี โดยพยายามที่จะฟื้นฟูดินและระบบนิเวศในไร่นาให้กลับมามีชีวิตดังเดิม สร้างเสริมความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พรรณไม้และพืชผลในทางคุณภาพและปริมาณอีกด้วย
มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2454 ในหมู่บ้านเล็กๆ บนเกาะซิโกกุทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และจบการศึกษาทางจุลชีววิทยาสาขาโรคพืชวิทยา เคยทำงานเป็นนักวิจัยทางการเกษตรของกรมศุลกากรเมืองโยโกฮาม่าในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่จะนำเข้าและส่งออก เมื่อเขาอายุได้ 25 ปี ได้ตัดสินใจลาออกจากงานและกลับไปทำเกษตรกรรมที่บ้านในชนบท เขาใช้เวลากว่า 50 ปี ไปกับการพัฒนาวิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ
ฟูกูโอกะเป็นผู้นำงานจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาอธิบายว่า ชาวนาเชื่อว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ พลั่ว ไถ หรือใช้แทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนมาก ดินก็จะแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้นทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายออกจากกันทำให้อนุภาคของดินเหล่านี้เข้าไปอุดอยู่ในช่องว่างในดิน ดินก็จะแข็งขึ้นเกิดชั้นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไซลงไปได้ลึกได้ถึง 30-40 ซม. ซึ่งจะช่วยทำให้ทั้งอากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ทำให้แพร่ขยายจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นและตัวตุ่นก็จะมีตามมา ซึ่งจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุย และสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย เพียงแต่ปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง
ทฤษฎีของฟูกูโอกะนี้เป็นการเดินตามหลักเกณฑ์ของธรรมชาติ และเป็นวิธีบำรุงธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งโดยมุ่งเน้นวิธีการคลุมดิน ไม่มุ่งเน้นในเรื่องการทำปุ๋ยหมัก เพราะการคลุมดินจะช่วยปรับสภาพดินได้เป็นธรรมชาติกว่า
วิธีการทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ มีดังนี้
1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล
2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน
3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน
4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา
1.) ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล
2.) ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี แต่จะใช้วิธีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน โดยไม่สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวโรยคลุมดินแทน
3.) ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืช โดยใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางข้าวคลุมดิน
4.) ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง แต่อาศัยการควบคุมโรคและแมลงด้วยกลไก การควบคุมกันเองของ สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ โดยเชื่อว่าวิธีการควบคุมโรคและแมลงที่ดีที่สุด คือ การปลูกพืชในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลทางนิเวศวิทยา
ฟูกูโอกะเชื่อในการบำรุงรักษาดิน และการปล่อยให้สภาพแวดล้อมคงอยู่ตามธรรมชาติ ไม่แยกสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันตามธรรมชาติออกจากกัน โดยเขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้าเราเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูกธัญญาหารของเราเท่ากับเราเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหาร เปลี่ยนแปลงลักษณะสังคม และเปลี่ยนวิถีชีวิตค่านิยมของเราไปด้วย”
การทำเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะไม่ได้ปล่อยให้ธรรมชาติจัดการทุกอย่างเอง โดยที่เกษตรกรนั่งดูอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงมือปฏิบัติอะไรเลย แต่ตัวเกษตรกรเองจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และทำการเกษตรกรรมโดยประสานความร่วมมือกับธรรมชาติ มากกว่าพยายามที่เปลี่ยนแปลงธรรมชาติ และเพื่อลดการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็นลง มีจุดมุ่งหมายของการทำการเกษตรไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้นเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิต ฟูกูโอกะได้กล่าวว่า “การทำเกษตรกรรมด้วยความรู้สึกที่เป็นอิสระในแต่ละวัน คือ วิธีดั้งเดินของเกษตรกรรม ซึ่งมนุษย์เรามิได้มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว”
ข้อดีและข้อจำกัดของการทำเกษตรธรรมชาติฟูกูโอกะ
ข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย
ข้อดี
1.) สมดุลทางธรรมชาติไม่ถูกทำลาย
2.) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อคนและสัตว์
3.) สามารถปรับปรุงการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมให้ดีขึ้น
4.) ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพปราศจากสารพิษ
5.) ลดต้นทุนการผลิต และใช้แรงงานน้อย
ข้อจำกัด
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ
1.) ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ
2.) เห็นผลช้า ไม่รวดเร็วทันใจ
3.) เกษตรกรต้องมีความพยายามและมีความอดทน
4.) ผลิตผลไม่สวยงามเมื่อเทียบกับการเกษตรสมัยใหม่
5.) ไม่สามาถผลิตเป็นการค้าได้ทีละมากๆ